นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

บทความธรรมะ

Friday, July 30, 2010

พุทธศาสนาสมัยพุทธกาล

ประวัติพุทธศาสนา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พุทธศาสนาสมัยพุทธกาล
หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจาก ธุลีมลทิน จึงเกิดขึ้นแก่พระโกณฑัญญะ จนทำให้บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระโกณฑัญญะจึงกราบทูลขออุปสมบทในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งนับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และพระรัตนตรัยจึงเกิดขึ้นในโลก เช่นกันในวันนั้น ต่อมา พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอื่น ๆ เพื่อโปรดพระปัญจวัคคีย์ที่เหลืออีก 4 องค์ จนบรรลุเป็นพระโสดาบันทั้งหมด หลังจากพระปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระโสดาบันหมดแล้ว พระองค์ทรงแสดงธรรมอนัตตลักขณสูตร ซึ่งทำให้พระปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
ต่อจากนั้น พระองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระยสะและพวกอีก 54 ท่าน จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ในครั้งนั้นจึงมีพระอรหันต์รวมทั้งพระองค์ด้วยทั้งสิ้น 61 พระองค์ พระพุทธเจ้าจึงพระดำริให้พระสาวกออกประกาศศาสนา โดยมีพระปฐมวาจาในการส่งพระสาวกออกประกาศศาสนาว่า
“ดูกรพระภิกษุทั้งหลาย เราหลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ และของมนุษย์ แม้พวกเธอได้หลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวงทั้งของทิพย์และของมนุษย์เช่นกัน พวกเธอจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน 2 รูป จงแสดงธรรมให้งามในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะให้ครบถ้วนบริบูรณ์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุเพียงเล็กน้อยมีอยู่ แต่เพราะโทษที่ยังไม่ได้สดับธรรม จึงต้องเสื่อมจากคุณที่พึงจะได้รับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ทั่วถึงธรรมมีอยู่ แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม”
จึงทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง และแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิม แล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นโดยลำดับและเผยแผ่ต่อมา จนถึงปัจจุบัน

พุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพาน
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนายังเจริญในอินเดียสืบมา ความเจริญของพุทธศาสนาขึ้นกับว่าได้รับการส่งเสริมจากผู้มีอำนาจในสมัยนั้น หรือไม่ ถ้ามีก็มีความรุ่งเรืองมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลากาลล่วงไป ความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกันได้เกิด ขึ้นในหมู่พระสงฆ์ จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้ เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็น แบบแผนต่อไป

การสังคายนาครั้งที่ 1
การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำขึ้น หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ โดยพระมหากัสสปะเป็น ประธาน พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ พระอานนท์เป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระธรรม และพระอุบาลีเป็นผู้ให้คำตอบ เกี่ยวกับพระวินัย มีพระอรหันต์เข้าร่วมในการสังคายนา 500 รูป กระทำ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ
การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระสุภัททะกล่าวจาบ จ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพานเพียง 7 วัน ทำให้พระมหากัสสปะ ดำริจัดสังคายนาขึ้น ในการสังคายนาครั้งนี้ พระอานนท์ได้กล่าวถึงพุทธานุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ที่ประชุมตกลงกันไม่ได้ว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไร พระมหากัสสปะจึงให้คงไว้อย่างเดิม
เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมบริวาร 500 รูป จาริกมายังแคว้นราชคฤห์ ภิกษุที่เข้าร่วมสังคายนาได้แจ้งเรื่องสังคายนาให้พระปุราณะทราบ พระปุราณะแสดงความเห็นคัดค้านเกี่ยวกับสิกขาบทบางข้อและยืนยันปฏิบัติตาม เดิม ซึ่งแสดงให้เห็นเค้าความแตกแยกในคณะสงฆ์

การสังคายนาครั้งที่ 2 : การแตกนิกาย
เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงไป 100 ปี ภิกษุชาววัชชี เมืองเวสาลี ได้ตั้งวัตถุ 10 ประการ ซึ่งผิดไปจากพระวินัย ทำให้มีทั้งภิกษุที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนเกิดการแตกแยกในหมู่สงฆ์ พระยสกากัณฑบุตร ได้จาริกมาเมืองเวสาลี และทราบเรื่องนี้ ได้พยายามคัดค้าน แต่ภิกษุชาววัชชีไม่เชื่อฟัง ภิกษุที่สนับสนุนพระยสกากัณฑบุตรจึงนำเรื่องไปปรึกษาพระเถระผู้ใหญ่ในขณะ นั้นได้แก่ พระเรวตะ พระสัพกามีเถระ เป็นต้น จึงตกลงให้ทำการสังคายนาขึ้นอีกครั้ง
ภิกษุชาววัชชีไม่ยอมรับและไม่เข้าร่วมการสังคายนานี้ แต่ไปรวบรวมภิกษุฝ่ายตนประชุมทำสังคายนาต่างหาก เรียกว่า มหาสังคีติ และเรียกพวกของตนว่า มหาสังฆิกะ ทำให้พุทธศาสนาในขณะนั้นแตกเป็น 2 นิกาย คือ ฝ่ายที่นับถือมติของพระเถระครั้งปฐมสังคายนาเรียก เถรวาท ฝ่ายที่ถือตามมติของอาจารย์ของตนเรียก อาจาริยวาท
อีกราว 100 ปีต่อมา สงฆ์ทั้ง 2 ฝ่ายมีการแตกนิกายออกไปอีก หลักฐานฝ่ายภาษาบาลีว่าแตกไป 18 นิกาย หลักฐานฝ่ายภาษาสันสกฤตว่า แตกไป 20 นิกาย ได้แก่

หลักฐานฝ่ายบาลี
1 เถรวาท แยกเป็น
1.1 นิกายมหิสาสกวาท แยกเป็น
1.1.1 นิกายสัพพัตถิกวาท แยกเป็น
นิกายกัสสปิกวาท
นิกายสังกันติกวาท
นิกายสุตตวาท
1.1.2 นิกายธรรมคุตตวาท
1.2 นิกายวัชชีปุตวาท แยกเป็น
1.2.1 นิกายธัมมตตริกวาท
1.2.2 นิกายภัทรยานิกวาท
1.2.3 นิกายฉันนาคาริก วาท
1.2.4 นิกายสมิติยวาท
2 นิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็น
2.1 นิกายเอกัพโยหาริกวาท แยกเป็น
2.1.1 นิกายพหุสสุติกวาท
2.1.2 นิกายปัญญัติกวาท
2.2 นิกายโคกุลิกวาท
2.3 นิกายเจติยวาท

หลักฐานฝ่ายสันสกฤต
1 เถรวาท แยกเป็น
1.1 นิกายเหมวันตวาท
1.2 นิกายสรวาสติวาท แยกเป็น
1.2.1 นิกายมหิศาสกวาท แยกเป็น
นิกายธรรมคุปตวาท
1.2.2 นิกายกาศยปิกวาท
1.2.3 นิกายเสาตรันติกวาท
1.2.4 นิกายวาตสีปุตริยวาท แยกเป็น
นิกายศันนาคาริก วาท
นิกายสามมมีติยวาท
นิกายภัทรยานิยวาท
นิกายธรรโมตตริยวา ท
2 นิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็น
2.1 นิกายเอกวยหาริกวาท
2.2 นิกายโลโกตรวาท
2.3 นิกายโคกุลิกวาท
2.4 นิกายพหุศรติยวาท
2.5 นิกายปัญญัตวาท
2.6 นิกายไจติกวาท
2.7 นิกายอปรเสลิยวาท
2.8 นิกายอุตรเสลิยวาท


การสังคายนาครั้งที่ 3
เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อกำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา มีพระโมคคัลลีบุรติสสะเป็นประธาน ใช้เวลา 9 เดือนจึงสำเร็จในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุรติสสะ ได้แต่งกถาวัตถุขึ้น เพื่ออธิบายธรรมให้แจ่มแจ้ง
หลังจากการสังคายนาสิ้นสุดลง พระเจ้าอโศกฯได้ส่งสมณทูต 9 สายออกเผยแผ่พุทธศาสนา คือ
1. คณะพระมัชฌันติกเถระ ไปแคว้นแคชเมียร์และแคว้นคันธาระ
2. คณะพระมหาเทวะ ไป มหิสกมณฑล ซึ่งคือ แคว้นไมซอร์และดินแดน ลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ในอินเดียใต้ปัจจุบัน
3. คณะพระรักขิตะ ไปวนวาสีประเทศ ได้แก่ แคว้นบอมเบย์ในปัจจุบัน
4. คณะพระธรรมรักขิต ไป อปรันตกชนบท แถบทะเลอาหรับทางเหนือของบอมเบย์
5. คณะพระมหาธรรมรักขิต ไปแคว้นมหาราษฎร์
6. คณะพระมหารักขิต ไปโยนกประเทศ ได้แก่แคว้นกรีกในเอเชียกลาง อิหร่าน และเตอร์กิสถาน
7. คณะพระมัชฌิมเถระ ไปแถบเทือกเขาหิมาลัย คือ เนปาลปัจจุบัน
8. คณะพระโสณะ และพระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไทย พม่า มอญ
9. คณะพระมหินทระ ไปลังกา

No comments:

Post a Comment