นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

บทความธรรมะ

Wednesday, August 4, 2010

เถรวาท

เถรวาท
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เถรวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (ภาษาอังกฤษ: Theravada ภาษาบาลี: theravāda ภาษาสันสกฤต: स्थविरवाद sthaviravāda) เป็นนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ มีอีกชื่อหนึ่งว่า หินยาน หรือ หีนยาน
นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด[1]) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า นิกายเถรวาทได้รับการนับถือเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังคลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดน กัมพูชา มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของ ประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายไทย และสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน
สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด [2]
นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (มหายาน)
พุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทยยังได้แบ่งเป็นนิกายย่อยอีก 2 นิกาย คือ มหานิกาย และ ธรรมยุตินิกาย
ความ เป็นมาของนิกายเถรวาท
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกาย เถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี[3]

นิกายย่อย
นิกายเถรวาท ยังมีนิกายที่แบ่งย่อยออกไปอีกจากเดิม มีความแตกต่างกันบ้างตามท้องถิ่นนั้นๆ โดยนิกายย่อยของเถรวาทมีอยู่ ได้แก่
• ประเทศบังกลาเทศ:
o สังฆราชนิกาย (Sangharaj Nikaya)
o มหาสธาภีรนิกาย (Mahasthabir Nikaya)
• ประเทศพม่า :
o สุธรรมมานิกาย (Thudhamma Nikaya)
o ชเวจินนิกาย (Shwekyin Nikaya)
o ทวาระนิกาย (Dvara Nikaya)
• ประเทศศรีลังกา:
o สยามนิกาย (Siam Nikaya)
มัลวัตตะ (Malwaththa)
อัสกิริยา (Asgiriya)
วาทุลวิลา (Waturawila) หรือ มหาวิหารวามสีกาสยาโมวนาวาสนิกาย (Mahavihara Vamshika Shyamopali Vanavasa Nikaya)
o อมรปุระนิกาย (Amarapura Nikaya)
ธรรมรักษิต (Dharmarakshitha)
คันดุโบดา (Kanduboda) หรือนิกายชเวจิน (Swejin Nikaya)
ตโปวนา (Tapovana) หรือกัลยาณวามสา (Kalyanavamsa)
o มรันมานิกาย
กัลดุวา (Galduwa) หรือกัลยาณโยคศรามายะ สัมสตายะ(Kalyana Yogashramaya Samsthava)
เดวดูวา (Delduwa)
• ประเทศไทย และประเทศกัมพูชา
o มหานิกาย
o ธรรมยุติกนิกาย
• ประเทศจีน
o สำนักวัดสวนดอก หรือฝ่ายสวน
o สำนักวัดป่าแดง หรือฝ่ายป่า
o นิกายปายจอง
o นิกายกึงโยน
o นิกายโตเล
o นิกายชุติ หรือนิกายโจติ

No comments:

Post a Comment