นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

บทความธรรมะ

Wednesday, August 4, 2010

วัชรยาน

วัชรยาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัชรยาน (Vajrayana) เป็นชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญาสูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มีใครต้านได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน


ความ เป็นมาของวัชรยาน
พุทธศาสนิกชนฝ่ายวัชรยาน กล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน ซึ่งมีความหมายว่า ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ ได้แก่
1. ที่เมืองสารนาถ แคว้นพาราณสี เทศนาเกี่ยวกับพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
2. ที่กฤตธาราโกติ แคว้นราชคฤห์
3. ที่ไวศาลี
การเทศนาครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 นั้นได้เทศนาเกี่ยวกับมหายาน ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในเรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ ทั้งหมดเป็นอุดมคติของมหายานอุดมคตินี้ เรียกว่า "โพธิจิต" หรือ "จิต รู้แจ้ง"
โพธิจิต หรือ จิตรู้แจ้ง พัฒนาขึ้นเพื่อต้องการสำเร็จรู้แจ้งเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์ สุขของสรรพสัตว์ทั้งหมดบุคคลใดที่มีอุดมคตินี้และปฏิบัติอุดมคตินี้บุคคล นั้นก็คือพระโพธิสัตว์ ในแต่ละครั้งแห่งการเกิด ต้องมีบุพการี 1 กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้แต่ละคนได้มี บุพการีมาแล้วเป็นจำนวนที่นับไม่ถ้วน ฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึงควรเป็นไปพร้อมกัน หรือให้บุพการีไปก่อนแล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไป นี่คือความเป็นพระโพธิสัตว์ พระอาจารย์ชาวทิเบตได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่ 14 ว่า

ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุข

ฉะนั้นการแลกความสุขของตนเปลี่ยน กับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ต้องประกอบไปด้วยบารมี 6 ประการ [2]
ในบารมี 6 ที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัตินั้นประกอบด้วยเมตตา 5 ปัญญา 1 เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว พระโพธิสัตว์ก็บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าได้ สามารถบรรลุความเป็นตรีกายได้คือธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมานกาย พระพุทธเจ้าได้สอน เรื่องของวัชรยานไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เช่น กาลจักระ ตันตระ หลังจากได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว 1 ปี แก่พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญในภูมิที่สูง ฉะนั้นคำสอนตันตระจึงถือว่าเป็นคำสอนลับเฉพาะ
คำสอนมหายานเป็นที่เริ่ม สนใจปฏิบัติในช่วงของท่านคุรุนาคารชุนในปื ค.ศ. 1 ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้ อย่างเป็นเลิศ ท่านได้เขียนเรื่องการปฏิบัติตันตระเรื่องกูเยียซามูจาตันตระ ในศตวรรษที่ 16 ท่าน ธารานาถ ธารานาถชาวทิเบตได้บันทึกไว้ว่าท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับ ตันตระ ไว้มากเพียงแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดีย ในช่วงศตวรรษที่ 7-8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดไปจนถึง ศตวรรษที่ 12 การปฏิบัติในวัชรยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติ ตันตระ จะต้องได้รับการมนตราภิเษกจากวัชราจารย์ผู้ซึ่งได้สำเร็จรู้แจ้งแล้ว ถ้าไม่มีการมนตราภิเษก ถึงแม้จะปฏิบัติอย่างไรก็ตามจะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้นผู้สนใจต่อการปฏิบัติวัชระยานจะ ต้องได้รับการมนตราภิเษกจากวัชราจารย์เสียก่อน
คำสอนวัชรยานมีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดีจึง สามารถเข้าใจคำสอนอันลึกซึ้งได้ เป็นที่รู้กันว่าในทิเบตท่านมิลาเรปะท่าน ได้บรรลุสำเร็จได้ในช่วงชีวิตของท่านด้วยการปฏิบัติตันตระ การปฏิบัติวัชรยานสามารถ ทำให้เราบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วยเวลาอันสั้น คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ด้วยวิธีการ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว ้เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆที่พระอาจารย์ชาวอินเดียได้บันทึกไว้ และได้แปลทั้งหมดสู่ภาษาทิเบต เนื่องจากคำสอนดั้งเดิมที่เป็นภาษาสันสฤตได้สูญหาย และถูกทำลายไปนานแล้ว
พุทธศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตในสมัยพระเจ้าซรอนซันกัมโปเรืองอำนาจ ถึงแม้ว่าพุทธศาสนาจะถูกขัดขวางจากลัทธิบอนอันเป็นลัทธิ ดั้งเดิม พุทธศาสนาเข้าสู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีน ได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ทิเบตว่ามีการสังคายนา พุทธศาสนา ณ กรุงลาซาเป็นการสังคายนาระหว่างนิกายเซนของจีนและวัชรยานจากอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชรยานมากกว่า ดังนั้นพุทธศาสนาวัชรยานจึงลงรากฐานมั่นคงในทิเบตสืบมา พระเจ้าทิซองเด็ตเชนได้ทรงนิมนต์ ศานตรักษิตภิกษุชาว อินเดียและคุรุปัทมสมภพเข้ามาเพื่อเผยแพร่พระธรรม โดยเฉพาะ คุรุปัทมสมภพได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมากจนได้ยกย่องท่าน ว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 ท่านได้ร่วมกับศานตรักษิตสร้างวัดสัมเยขึ้นในปี ค.ศ. 787 และเริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุชาวทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ทั้งนี้ยังได้จัดนักปราชญ์ ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาทิเบตด้วยอย่างมากมาย

นิกาย
พุทธศาสนาแบบวัชรยานมีนิกายย่อยสำคัญอยู่ 4 นิกาย ซึ่งแต่ละนิกายล้วนมีสังฆราช หรือผู้ปกครองสุงสุดของคณะสงฆ์ในแต่ละนิกายนั้น ๆ

นิกายณยิงมาปะ
ดูบทความหลักที่ นิกายนิงมะ
ณยิงมาปะ เป็นนิกายแรกและเก่าแก่ดั้งเดิมและยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยถือว่ากำเนิดจากท่านคุรุ ปัทมสมภพ ณยิงมาปะ ได้มีพัฒนาการครั้งใหญ่ๆ 3 ครั้ง คือ การเริ่มต้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเริ่ม ต้นพุทธศาสนาของทิเบตด้วย และเป็นนิกายเดียวที่มีอยู่ในช่วงนั้น คือศตวรรษที่ 8-11 คำว่า "ณยิงมา" ซึ่งแปลว่าโบราณสัญลักษณ์ของนิกายคือใส่หมวกสีแดงชาวทิเบตเลื่อมใสศรัทธา ท่านคุรุปัทมภพมากเชื่อว่าท่านเป็นผู้ทรงพลานุภาพอย่างมากในการให้ความช่วย เหลือขจัดอุปสรร ต่างๆได้จนหมดสิ้น ณยิงมาปะได้เน้นในด้านพุทธตันตระคำว่าตันตระนั้นแปลว่าเชือกหรือเส้นด้าย ใหญ่ๆ หรือความต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการถ่ายทอดคำสอนจากอาจารย์ไปสู่ศิษย์ โดยไม่มีการขาดตอนโดยผ่านพิธีมนตราภิเษก และเป็นการถ่ายทอดคำสอนปากเปล่าจากอาจารย์สู่ศิษย์
องค์คุรุปัทมสมภพได้ให้เหตุผลไว้ 3 ได้แก่
1. เพื่อไม่ให้คำสอนผิดเพี้ยนไปเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ
2. เพื่อให้พลังแห่งคำสอนนั้นอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ และ
3. เพื่อเป็นการให้พร แก่คนรุ่นหลังที่ได้สัมผัสกับคำสอนดั้งเดิม
คำสอนณยิงมาปะเน้นในเรื่องความไม่เป็นแก่นสารของจักรวาลและเน้นถึงความ เป็นไปได้ในการตรัสรู้ในเวลาอันสั้น หรือทันทีทันใดคำสอนของณยิงมาปะ ด้แบ่งพุทธศาสนาออกเป็น 9 ยานคือ
1. สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และ โพธิสัตว์ยาน คือสามยานขั้นต้น
2. กริยาตันตระ จริยะตันตระ และโยคะตันตระ เป็นสามยานในชั้นกลางหรือจัดเป็นตันตระต่ำ และ
3. มหาโยคะตันตระ อนุตรโยคะตันตระและอธิโยคะตันตระ สามยานสุดท้าย หรือจัดเป็นตันตระสูง อนุตรโยคะตันตระจัดเป็นตันตระสูงสุดของตันตระ

นิกายคากิว
นิกายคากิวเป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งในต้นศตวรรษที่ 11 "คากิว" แปลว่า การถ่ายทอดคำสอนด้วยการบอกกล่าวจากอาจารย์สู่ศิษย์ ผู้ก่อตั้งคือมาร์ปะผู้สืบสายคำสอนมาจากนาโรปะนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งมหาวิหารนาลันทา ผู้รับสืบทอดคำสอนมาจากติโลปะผู้ถือว่ารู้แจ้งเองไม่ปรากฏว่าท่านได้รับคำ สอนจากพระอาจารย์ท่านใด แต่ได้มีบันทึกบอกกล่าวไว้ว่าท่านได้รับคำสอนโดย ตรงจากพุทธวัชรธารา มาร์ปะเป็นลามะปราชญ์ผู้แปลพระธรรมที่ มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่งของ ทิเบต ท่านได้ถ่ายทอดคำสอนต่อให้มิลาเรปะ โยคีผู้บรรลุความรู้แจ้งในชีวิตนี้ นิกายคากิวได้ ชื่อว่านิกายขาวก็สืบเนื่องจากการครองผ้าของมิลาเรปะซึ่งท่านจะครองผ้าบางๆ สีขาวหรืออาจ จะมาจากสัญลักษณ์ของวัดในคากิวปะซึ่งจะทาสีขาวทั้งหมด มาร์ปะและมิลาเรปะถือว่ามีความ สำคัญมากในพุทธตันตระของทิเบต ท่านได้ประพันธ์คำสอนไว้มากมาย มิลาเรปะ มีศิษย์ทั้งหมด21ท่าน ท่านที่มีชื่อเสียงที่สุดคือกัมโปปะ คากิวปะเป็นนิกายที่มีชื่อเสียงมากใน ศตวรรษที่ 13 เนื่องด้วยมิลาเรปะมีศิษย์หลายท่านกัมโปปะเองก็มีศิษย์หลายท่านทำให้นิกาย คากิวได้มีการพัฒนาไปตามแนวทางคำสอนของศิษย์แต่ละท่านได้รับจึงเกิดกิวในสาย ต่างๆขึ้น มามากมาย คำสอนของคากิวก็ไม่ได้แตกต่างไปจากนิกายอื่น คือเน้นไปที่พุทธตันตระ คำสอน คำสอนตันตระของคากิวเกี่ยวพันกับ ตันตระโยคะทั้ง 6 การสืบทอดวิญญาณและ การปฏิบัติ มหามุทรา

นิกายสักกยะ
ดูบทความหลักที่ นิกายสักยะ
นิกายนี้ได้มาจากชื่อของวัดสักกยะ คำว่าสักกยะหรือสำเนียงทิเบตว่า "สัก เจีย" แปลว่าดินชนิดหนึ่งในบริเวณจั้ง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำยาลุงซังโป
วัดของสักกยะมีเอกลักษณ์คือทาสีเป็น 3 แถบ คือแถบสีแดง สีขาว และสีดำ สีทั้ง 3 เป็นสีแห่งพระโพธิสัตว์ 3 องค์ ซึ่งนิกายสักกยะให้ความสำคัญมาก คือ
• สีแดง เป็นสีแห่งพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ผู้ทรงปัญญาคุณ
• สีขาว เป็นสีแห่งพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ผู้เมตตากรุณาคุณ
• สีดำ เป็นสีแห่งพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ ผู้ทรงพลาคุณในประเทศ
นิกายสักกยะได้ตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 11 ผู้ก่อตั้งนิกายคือผู้สืบเชื้อ สายขุนนางเก่าตระกูล คอน คอนโซก เกียวโป ท่านได้รับคำสอนตันตระกาลจักรจากบิดาซึ่งรับคำสอนมากจากวิรูปะโยคีชาว อินเดีย คอน คอน โซกเกียวโปได้เดินทางไปเรียนตันตระจากอาจารย์อีกท่านคือโยมิโลซาวา คอน คอน โซกเกียวโปได้สร้างวัดของนิกายสักกยะขึ้นใกล้แม่น้ำถอม เป็นบัญญัติของคอนคอนโซกเกียว โปว่าการสืบทอดในนิกายสักกยะจะสืบทอดเฉพาะคนในตระกูลคอนเท่านั้นตำแหน่งของ เจ้านิ กายสักกยะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจทั้งในทางการเมืองและการศาสนาความสำคัญใน เชิงประวัติ ศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าผู้สืบสายนิกายสักกยะท่านที่4คือคุงก้าเกียวเจนหรือ สักกยะบันฑิตและ หลานของท่านที่ชื่อว่าพักปะโลดุปเกียวเจนทั้ง 2 ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในการเมืองของทิเบตมาก ทั้ง2ท่านได้รับการเชิญจากโดยข่านชาวมงโกลให้ไปแผ่แพร่พุทธตันตระในประเทศ จีนเป็นที่ เลื่อมใสแก่ข่านมงโกลอย่างมาก กุบไลข่านได้แต่งตั้งให้พักปะโลดุปเกียวเจนให้ปกครองทิเบต และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการที่พระสงฆ์นั้นปกครองทั้งอาณาจักร และศาสนะจักร

นิกายกาดัม และเกลูปะ
ดูบทความหลักที่ นิกายเกลุก
จุดเริ่มของทั้ง 2 นิกายมาจากอติษะและศิษย์ของท่านชื่อดอมทอนปะ อติษะได้เน้นมากในเรื่อง คำสอนดั้งเดิมของพุทธศาสนาและเน้นในการปฏิบัติพระธรรมวินัยที่เคร่งครัดโดย ไม่เน้นในคำ สอนตันตระ ศิษย์ของอติษะได้ก่อตั้งนิกายกาดัมปะขึ้นคำว่ากาดัมแปลว่าคำสอนของพระพุทธ เจ้า เมื่อเวลาผ่านไปกาดัมปะได้สูญเอกลักษณ์ของตนเองไปบ้างด้วยแรงดึงดูดใจจาก ตันตระ ในศตวรรษที่14ซองคาปาพระภิกษุที่มีชื่อเสียงทรงความรู้ความสามารถในการ จัดการองค์กรได้ ศึกษาคำสอนของอติษะได้ปฏิวัตินิกายกาดัมปะขึ้นมาใหม่ให้คงเอกลักษณ์ เดิมและ ได้เปลี่ยน ชื่อใหม่เป็นนิกายเกลูปะ คำว่าเกลู แปลว่าความดีที่เป็นกุศล คำสอนของเกลูปะ เน้นที่การ ค่อยๆศึกษาจากต่ำขึ้นไปสูงเน้นในวินัยเน้นในด้านตรรกะเกลุปะจะบัญญัติให้ ภิกษุที่พรรษาไม่ มากไม่ให้ศึกษาตันตระเอกลักษณ์ของนิกายคือสวมหมวกสีเหลืองหรือนิกายหมวก เหลืองซึ่ง เป็นนิกายในสังกัดขององค์ทะไลลามะ

วัชรยาน ในเมืองไทย
พระพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานในเมืองไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของ พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้งมหาเถระ) หรือลามะทริม ซินกุนดั๊กรินโปเช่) ปฐมเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม และอดีตเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปที่ 6 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไป ประเทศจีน ได้ธุดงค์ไปถึงแคว้นคาม ทิเบตตะวันออก และได้เข้าศึกษามนตรยาน นิกายณยิงมาคากิว ณสำนักสังฆราชาริโวเช่ แคว้นคาม ทิเบตตะวันออก กับพระสังฆราชา“วัชระนะนาฮู้ทู้เคียกทู้” (พระมหาวัชรจารย์พุทธนอร่ารินโปเช่) ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่มีชื่อเสียงมากของทิเบต จีน และในแถบจีนตอนใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย
ท่านสังฆราชานะนา ได้เปิดเผยว่าท่านเจ้าคุณ อาจารย์ถือกำเนิดจากปรมาจารย์ “คุรุนาคาชุน” (ตามความเชื่อและแนวทางปฏิบัติในทิเบต) ซึ่งมาเพื่อฟื้นฟู สถาปนาพุทธศาสนามหายานให้มั่นคงในภูมิภาคนี้ ดังนั้นท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้รับ ความเมตตาจากพระอาจารย์เป็นพิเศษ เมื่อท่านเจ้าคุณอาจารย์ศึกษาแตกฉานใน มนตรยานณยิงมาคากิว แล้ว พระสังฆราชาฯได้ประกอบมนตรภิเษก ตั้งให้ ท่านเจ้าคุณอาจารย์โพธิ์แจ้งมหา เถระ หรือลามะทริมซินกุนดั๊กเป็น “พระวัชรธราจารย์” อันดับที่ 26 สืบต่อจากท่าน ในการครั้งนั้น ท่านสังฆราชานะนา ได้มอบ อัฐบริขาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตำแหน่งสังฆราชา ให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์อย่างครบถ้วน และหลังจากนั้นไม่นานท่านได้รับเกียตริสูงสุดในตำแหน่งพระสังฆราชาองค์ที่ 19 แห่งนิกายมนตรายาน ทิเบต
ทั้งนี้พระอาจารย์ได้มอบพระธรรมคัมภีร์ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดของนิกายพร้อมทั้งกำชับให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์นำกลับ มาประดิษฐานในประเทศไทย ด้วยเหตุที่ว่าเมืองไทยพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองและมั่งคง ท่านสังฆราชาได้ทำนายว่า ทิเบตต้องแตก พระธรรมคัมภีร์อันมีค่ามหาศาลจะถูกทำลายหมด ในปัจจุบันเป็นที่ยืนยันแล้ว ว่า พระธรรมคัมภีร์ฉบับที่อยู่ กับท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด
ครั้นเมื่อท่านได้ธุดงค์วัตรกลับสู่เมืองไทยแล้วท่านได้ถ่ายทอดวัชรยาน ให้กับลูกศิษย์เพียงไม่กี่ท่านเท่านั้น และหลังจากปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ท่านกลับไม่ได้พูดถึงเรื่องวัชรยานอีกเลย เพียงแต่ท่านได้บอกกับลูกศิษย์ว่า"เดี๋ยวรู้เอง" สุดท้ายทุกอย่างก็เป็นความลับต่อมา
จนถึงสมัยก่อนที่ท่านจะดับขันธ์ ท่านเกิดอาการล้มป่วยเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลธนบุรี ท่านเจ้าคุณเย็นเต็ก ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านได้เดินทางไปยังเนปลา เพื่อสอบถามถึงอาการป่วยของพระอาจารย์จากลามะชั้นสูง และท่านได้เข้าพบกับพระ สังฆราชต๊ากน่า จึงได้ถ่ายทอดรหัสนัยแห่งวัชรยานให้แก่ท่านเจ้าคุณเย็นเต็ก
เมื่อท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งถึงแก่กาลดับขันธ์นั้น ท่านไม่ได้ถ่ายทอดรหัสนัย และตำแหน่งพระสังฆราช นิกายมนตรายานให้แก่ผู้ใดเลย คณะศิษย์ของท่านได้เดินทางตามหาพระลามะที่จะมาต่อสายวัชรยานจากท่าน หลาย ๆ ประเทศ โดยอาศัยเพียงรูปถ่ายของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งและพระอาจารย์ นอร่ารินโปเช่ และท่านวิทยาดรุ๊ปวัง เท่านั้น สุดท้ายก็พบกับท่าน พระมหาวัชรจารย์โซนัม ท๊อปเกียว รินโปเช่ จึงได้กระจ่างขึ้น เมื่อท่านได้เปิดเผยความลับเรื่องวัชรยาน
จนถึงปัจจุบันนี้ พุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานในเมืองไทย ได้รับการสืบทอดมาจากพระอารามรินโวเช่ ซึ่งเป็นต้นสายของวัชรยาน จากแคว้นคามทิเบต ตะวันออก โดยมีพระมหาวัชรจารย์โซนัมท๊อปเกียวรินโวเช่ เป็นผู้สืบทอด และมีการฝึกปฏิบัติแนวทางนี้ ที่รินโวเช่ธรรมสถาน และวัดภิกษุณี ที่ จ. สมุทรปราการ
ในส่วนของพระในคณะสงฆ์จีนนิกายนั้น วัชรยานที่ท่านเจ้าคุณได้ถ่ายทอดให้กับศิษย์นั้นเหลือไม่กี่ท่านที่ยังยึด ถือและปฏิบัติตามวิถีทางแห่งวัชรยานอย่างเคร่งครัด อาทิเช่น ท่านเจ้าคุณเย็นอี่ วัดโพธิ์เย็น พระอาจารย์เย็นเมี่ยง วัดเทพพุทธาราม เป็นต้น
นอกนั้นยังมีการยึดถือปฏิบัติในส่วนของพิธีกรรม และการมนตราภิเษก และการเขียนอักขรมนต์ในพิธีเจริญพุทธมนต์
อ้างอิง
1. ^ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
2. ^ บารมี 6 ดูที่ มหายาน
แหล่งข้อมูลอื่น
ศูนย์กลางข้อมูลพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
• http://www.mahayana.in.th/
• http://www.buddhayan.com/
• http://www.mahaparamita.com/





วิพากษ์วัชรยานจากฐานปรัชญาเถรวาท
ปรัชญาเถรวาท
สถาบันนาโรปะ สหรัฐอเมริกา ซึ่งก่อตั้งโดยมหาคุรุชาวธิเบต ท่านเซอเกียม ตรุงปะ รินโปเชมีอิทธิพลมากต่อปัญญาชนในสังคมไทย แต่ที่ผมอยากนำเสนอต่อพวกเขาคือทัศนะที่ปฏิเสธเถรวาท และมองพวกเถรวาทเป็นพวกที่ตื้นในพุทธปรัชญาอันสุขุมลึกซึ้งแบบวัชรยาน

หากเรามองตามประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในอินเดีย แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ
1. 500 ปีแรก เป็นยุคคำสอนดั้งเดิมซึ่งเป็นต้นแบบของเถรวาท
2. พ.ศ. 500-1,000 เป็นยุคของพุทธศาสนาแบบมหายาน
3. พ.ศ. 1,000-1,700 เป็นยุคของพุทธศาสนาแบบวัชรยานและพุทธตันตระ

นักปราชญ์พุทธมองว่ามันเป็นลักษณะวิวัฒนาการของพุทธศาสนาตามการเจริญ และขยายตัวในเชิงปริมาณของพุทธศาสนาในแง่ของสังคมเท่านั้น ไม่ใช่เป็นวิวัฒนาการทางแนวคิดหรือปรัชญาแต่อย่างใด เพราะคำสอนที่บริสุทธิ์และสมบูรณ์ได้ถูกแสดงและอธิบายอย่างชัดเจนโดยพระ พุทธองค์ตลอด 45 พรรษาอยู่แล้ว เพราะฉนั้นจึงไม่มีอะไรที่ต้องวิวัฒนาการต่อไปอีกในแง่พุทธปรัชญา

แต่ที่มีการเปลี่ยนแปลงปรัชญาจากยุคเถรวาทดั้งเดิมสู่มหายานก็เพื่อรอง รับการเติบโตและขยายตัวของชาวพุทธ จึงต้องยกหลักโพธิสัตว์ที่เน้นกรุณาขึ้นมาแทนหลักอรหันต์ที่เน้นปัญญาและ ความบริสุทธิ์ส่วนตน ความสำเร็จของมหายานทำให้พุทธศาสนาขยายตัวครอบคลุมอินเดียทั้งประเทศ แต่เถรวาทก็ยังยึดที่มั่นอยู่ในบางพื้นที่เพื่อรักษษคำสอนที่บริสุทธิ์ ความสำเร็จของมหายานทำให้พุทธศาสนาต้องปะทะกับศาสนาพราหมณ์ที่ยังมีผู้ นับถืออยู่มากและมีปรัชญาที่ลึกซึ้งเพราะมีวิวัฒนาการมามากกว่า 5,000 ปี

เพื่อต่อสู้กับศาสนาพราหมณ์ที่พัฒนามาเป็นฮินดูที่แข็งแกร่ง นักปราชญ์ชาวพุทธจึงปรับกระบวนทัศน์ครั้งสำคัญโดยการคัดสรรปรัชญาที่ดีที่ สุดของเถรวาทและมหายาน มาเป็นพุทธศาสนาที่เรียกว่าวัชรยาน วัชระ คือ เพชรที่ตัดสิ่งที่มิใช่แก่นออกไป ทำให้พุทธศาสนายืนหยัดต่อสู้กับฮินดูมาได้อีก 500 ปี ซึ่งในช่วงนี้คำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้าได้ถูกทำให้เป็นทฤษฎีชั้นสูง สำหรับนักวิชาการในมหาวิทยาลัย เช่น นาลันทา เท่านั้น ทำให้หลักปฏิบัติหรือวินัยถูกทอดทิ้ง เมื่อไม่มีหลักปฏิบัติมารองรับ พุทธศาสนาวัชรยานจึงดึงหลักปฏิบัติของฮินดูเข้ามาเป็นฐานนั่นคือ โยคะและตันตระ

ดังนั้นใน พ.ศ. 1,500 จึงเกิดลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งเป็นลัทธิที่ตรงกันข้ามกับคำสอนดั้งเดิมทุกอย่าง เพราะเป็นการผสมกันระหว่างพุทธกับพราหมณ์ที่มีปรัชญาตรงขามกันโดยสิ้นเชิง แต่มันเกิดขึ้นจากนักวิชาการที่ ไม่สนใจหลักวินัย แต่ปราดเปรื่องในวิชาการ มันจึงเป็นการผสมมั่ว จับแพะชนแกะ พุทธตันตระต่อมายอมรับหลัก ม.5 (เมถุน เมรัย มังสะ มัสยา มุทรา) จึงเป็นตัวทำลายพุทธศาสนาให้กลายเป็นศาสนาชั้นตำและถูกทำลายให้สิ้นซากไปโดย มุสลิมในเวลาต่อมา

หรือจะดูประวัติในธิเบตเอง วัชรยานที่เข้าไปตอนแรกนำโดยท่านปัทมสัมภวะ ซึ่งเป็นนักวิชาการจากนาลันทา และเป็นต้นสายนิกายฌิงมะ แต่เพราะไม่มีรูปแบบการปฏิบัติที่ชัดเจน(วินัย) จึงทำให้ในช่วงหลังเกิดความเสื่อมโทรม ทำให้พระมหาเถระกติษะเข้าไปฟื้นฟูโดยยึดวินัยเป็นหลักและท่านก็เป็นต้นสาย เคลุกปะ ที่ครอบครองตำแหน่งดาไลลามะ ทำให้วัชรยานยืนหยัดมาได้จนถึงปัจจุบัน

สถาบันนาโรปะที่ก่อตั้งโดยท่านมหาคุรุ เซอเกียม ตรุงปะ รินโปเช เป็นสายฌิงมะปะที่เน้นทฤษฎี ทราบว่าท่านมีภรรยาถึง 9 คน ผมเคยอ่านหนังสือที่เขียนโดยภรรยาคนที่ 9 ของท่านซึ่งเป็นชาวอเมริกัน

ทีนี้มาดูแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ของสถาบันนาโรปะบ้าง ผมก็เห็นว่าเป็นแนวคิดที่ดีเยี่ยม แต่ผมก็ยังมองเห็นว่ามันไม่ได้แตกต่างจากหลักการของเถรวาทเลย เพียงแต่ใช้ศัพท์สำนวนที่แตกต่างกันเท่านั้นเอง นั่นคือ

1.การเรียนรู้แบบบูรณาการและผสานสรรพศาสตร์ (Integrative & Transdisciplinory Learning)
2.การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง (Experiental Learning)
3.การเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายใน (Tranformative Learning)

ข้อที่ 1 ก็คือ อธิปัญญาสิกขา หรือ การเรียนรู้ในปัญญาอันยิ่ง ปัญญาอันยิ่งในที่นี้คือการบูรณาการความรู้(knowledge)เพื่อการรู้แจ้งทั้ง ในระดับปัจเจกบุคคลและสังคม

ข้อที่ 2 ก็คือ อธิสีลสิกขา หรือ การเรียนรู้ในศีลหรือข้อปฏิบัติอันยิ่ง ศีลหรือวินัยก็คือหลักปฏิบัติทางกายเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกของปัจเจก บุคคล และ ระเบียบของสังคม

ข้อ 3 ก็คือ อธิจิตตสิกขา หรือ การเรียนรู้ในจิตอันยิ่ง ได้แก่การเจริญสมถะและวิปัสสนาภาวนา เพื่อพัฒนาคุณภาพของจิตอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในคือความสงบสันตินั่น เอง

ที่ผมนำเสนอมิได้ต้องการให้มายึดติดแบบเถรวาทเท่านั้น แต่อยากเห็นปัญญาชนไทยบางคนอย่ามองพุทธศาสนาเถรวาทอย่างคับแคบ โดยติดอยู่แค่เปลือกกะพี้ของเถรวาท อย่าลืมว่าตลอดเวลา 2,500 ปี พุทธศาสนาเถรวาทได้พัฒนาปรัชญาแนวคิดมาอย่างต่อเนื่อง คัมภีร์อภิธรรมคือหลักฐาน แต่ผมก็ยอมรับครับว่ามีคนไม่มากที่แตกฉานในอภิธรรม เพราะมาติดที่กำแพงใหญ่คือภาษาบาลีชั้นสูง

จริง ๆ แล้วเถรวาทในเมืองไทยก้มีการแปรเปลี่ยนตามสังคมอยู่แล้วครับ สังคมเกษตรกรรมซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศก็เป็นเถรวาทแบบดั้งเดิมผสมไสย ศาสตร์ สังคมอุตสาหกรรมหรือชนชั้นกลางในเมืองก็จะเป็นเถรวาทที่ผสมกับมหายานของจีน ส่วนสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศหรือนักวิชาการ ก็เป็นเถรวาทที่ผสมกับวัชรยานคือเน้นที่ทฤษฎี หรือจะดูพระพุทธรูปของเถรวาทที่ผสมวัชรยานก็ให้ดูพระปางทรงเครื่อง พระพุทธชินราช พระพุทธรัตนมณีปฏิมากร และพระพุทธรูปประจำองค์พระพุทธยอดฟ้า พระพุทธเลิศหล้า เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นการนำเสนอความคิด เพื่อการสร้างสรรค์ของผม เพราะต้องการเห็นความเจริญก้าวหน้าและการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคมไทยของ พุทธศาสนาทุกนิกาย

นาย บรรพต แคไธสง

No comments:

Post a Comment