นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

บทความธรรมะ

Tuesday, August 10, 2010

พุทธศาสนาวัชรยาน

พุทธศาสนาวัชรยาน

เป็นที่ทราบกันดีว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน หมายความ ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ ครั้งแรกที่เมือง สารนาถ แคว้นพาราณสี ครั้งที่ 2 ที่กฤตธาราโกติแค้วนราชคฤห์ครั้งที่3ที่ไวศาลีครั้งแรกเทศนาเกี่ยวกับพุทธ ศาสนาฝ่ายเถระวาท ครั้งที่2และครั้งที่ 3ท่านได้เทศนาเกี่ยวกับมหายานในมหายานได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน เรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมดเป็นอุดมคติของมหายานอุดมคติ นี้ เรียกว่า โพธิจิตหรือจิตรู้แจ้งการพัฒนาโพธิจิตขึ้นเพื่อต้องการสำเร็จรู้แจ้งเป็นพระ พุทธเจ้าเพื่อประโยชน์ สุขของสรรพสัตว์ทั้งหมดบุคคลใดที่มีอุดมคตินี้และปฏิบัติอุดมคตินี้บุคคล นั้นก็คือพระโพธิสัตว์ ซึ่งการตายแล้วเกิดใหม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชาวพุทธด้วยกันแต่ก็มีความคิด เห็นที่แตกต่างใน พุทธศาสนิกแต่ละนิกายฉะนั้นถ้าเรายอมรับในเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ก็หมาย ความว่าในแต่ละ ครั้งแห่งการเกิดต้องมีบุพการี1กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารนี้แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวน ที่นับไม่ถ้วนและด้วยเหตุผลนี้ต้องยอมรับว่าสรรพสัตว์ที่บังเกิดขึ้นได้เคย ดำรงสถานะภาพความเป็นบุพการีมานับครั้งไม่ถ้วนฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึง ควรเป็นไป พร้อมกันหรือให้บุพการีไปก่อนแล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไปนี่คือความเป็นพระ โพธิสัตว์
พระอาจารย์ชาวทิเบตได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่14ว่า "ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุข”ฉะนั้นการแลกความ สุขของตนเปลี่ยน กับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ต้องประกอบไปด้วยบารมี 6 ประการ(บารมี 6 มีอยู่ในลิงค์มหายาน)พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าไม่มีบาปใดใหญ่หลวงเท่าความ แค้น ไม่มีความดีใดเทียบได้กับความอดทน เมื่อเราได้เกิดขึ้นมาความสมดุลก็ได้หายไป ความ อดทนมี 3 ประเภท
1 อดทนต่อการต่อต้าน
2 อดทนต่อความ ลำบากในการศึกษาและปฏิบัติ ธรรม
3 อดทนในความกล้าปฏิบัติในคำสอนซึ่งลึกล้ำเช่นคำสอนเรื่องศูนยตาการบำเพ็ญตน
ตามโพธิสัตว์มรรคจึงต้องทำงานหนัก เพื่อผลแห่งการเกิดปัญญาแห่งการวิเคราะห์ มีการแยก แยะปัญญาไว้3ประเภทพื้นฐาน
1 ปัญญา เกิดจากการมีความรู้
2 ปัญญาเกิดจากการพินิจ พิจารณา
3 ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ
แต่ก็ยังมีการแยกย่อยอีก เช่น 1 ปัญญาที่เกิดระหว่างสมาธิ 2 ปัญญาที่เกิดหลังทำสมาธิ 3 ปัญญาเกิดเพื่อช่วยผู้อื่นและยังมีการแยกแยะลึกลงไปอีกเช่น ปัญญาในทางโลกและปัญญาที่อยู่เหนือโลกปัญญาที่เข้าถึงสัจจะธรรมสูงสุดหรือ ปัญญาที่กว้าง เพื่อเข้าถึงปรากฏการณ์ต่างๆในทางโลกในบารมี 6 ที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัตินั้นประกอบด้วยเมตตา 5 ปัญญา 1 เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว พระโพธิสัตว์ก็บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าได้ สามารถบรรลุความเป็นตรีกายได้คือธรรมกายสัมโภคกายและนิรมานกายที่กล่าวมา ทั้งหมดเป็น พื้นฐานที่ต้องมีความเป็นพระโพธิสัตว์ต้องบังเกิดเพื่อบรรลุความสำเร็จในการ ปฏิบัติวัชระยาน ต่อไป ฉะนั้นจึงแยกความเป็นมหายานและวัชระยานออกจากกันไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าได้สอน เรื่องของวัชระยานไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เช่น กาลจักระ ตันตระ ซึ่งเป็นบทปฏิบัติตันตระชั้นสูง พระพุทธเจ้าได้เทศนาหลังจากได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว1ปีพระพุทธเจ้าได้ เทศนาสอน แก่พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญในภูมิที่สูง ฉะนั้นคำสอนตันตระจึงถือว่าเป็นคำสอน ลับเฉพาะ

แม้คำสอนของมหายานเองก็มีการปฏิบัติไม่มากนักในสมัยพุทธกาล คำสอนมหายานเป็นที่เริ่มสนใจปฏิบัติในช่วงของท่านคุรุนาคารชุน นI.คI.h^.น_ ทิเบตเรียก O^.w^บ. ซ๋ลู.ซ๋ดุบ. ในปืค.ศ.1 ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้อย่างเป็นเลิศ ท่านได้เขียน เรื่อง การปฏิบัติตันตระเรื่องคุหยสมัชชตันตระ และมยุรีตันตระซึ่งเป็นตันตระเฉพาะของท่าน ในศตวรรษที่16 ท่าน ธารานาถชาวทิเบตได้บันทึกไว้ว่าท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับ ตันตระ ไว้มากเพียงแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดีย ในช่วงศตวรรษที่ 7-8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดไปจนถึง ศตวรรษที่ 12 เมื่อทิเบตรับคำสอนวัชระยานจากอินเดียในช่วงที่เจริญสูงสุดทิเบตจึงรับคำสอน มาอย่างเต็มที่

การปฏิบัติในวัชระยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อ คือ ก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติตันตระ จะต้องได้รับการอภิเษกจากวัชราจารย์ ผู้ซึ่งได้สำเร็จรู้แจ้งแล้ว ถ้าไม่มีการอภิเษก ถึงแม้การปฏิบัติจะดีเพียงไร ก็จะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้น ผู้สนใจต่อการปฏิบัติวัชระยานจะต้องได้รับการอภิเษกจากวัชราจารย์เสียก่อน ถามว่า คำสอนวัชระยานคืออะไรเพื่ออะไร คำสอนวัชระยาน มีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดีจึงสามารถเข้าใจคำสอน อันลึกซึ้งได้ เช่น ถ้าเราต้องการสำเร็จความเป็นพุทธะในชาตินี้ชาติเดียว ต้องศึกษาปฏิบัติคำสอนตันตระเท่านั้นที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้ เหมือนกับ การบินโดยเครื่องบิน ในปัจจุบันนี้ เราสามารถบินในระยะทางไกลๆได้ด้วยเวลาอันสั้นแค่ชั่วโมงแทนที่จะเดินด้วย เท่าเปล่าเป็นเดือน
เป็นที่รู้กันดีในทิเบตว่ามิลาเรปะ ท่านได้บรรลุสำเร็จได้ในช่วงชีวิตของท่าน ด้วยการปฏิบัติตันตระ แล้วตันตระคืออะไรตันตระ ตันตระ โดยความหมายของคำแปลว่าความต่อเนื่อง การต่อเนื่องของจิตวิญญาณที่ได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อ เนื่อง โดยที่การเปลี่ยนชาติภพมิได้ทำให้ระดับจิตที่ได้พัฒนาแล้วลดระดับลง อันเป็นคำสอนการปฏิบัติระดับสูง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอนศิษย์ในแวดวงจำกัดเท่านั้น การปฏิบัติตันตระไม่มีใครได้พูด ได้ศึกษา ได้ปฏิบัติโดยไม่มีอาจารย์และไม่ได้ รับการอภิเษกจากอาจารย์ก่อน แม้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้ปฏิบัติมามากเข้าใจเป็นอย่างดี ก็ไม่สามารถที่จะพูด ศึกษา หรือปฏิบัติตันตระเองได้โดยไม่ผ่านการอภิเษก จากคุรุ
การปฏิบัติตันตระเหมือนกับแพทย์ ที่มีความชำนาญมากสามารถที่จะเอาสารพิษ หรือ ยาพิษมาสกัดเพื่อเป็นยารักษาโรคใหม่ๆได้ มีประสิทธิภาพสูง ในการปฏิบัติตันตระจะมีการนำความรู้สึกที่เป็นลบมาแปลงให้เกิดเป็น พลังที่เป็นบวก ได้เป็นที่เข้าใจกันได้ว่าในสภาพของการรู้แจ้งจะไม่ถูกทำลายด้วยพลังที่เป็น ลบต่างๆ ไม่มีพิษใดๆที่จะทำให้สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นพิษไปด้วย สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นสภาพซึ่งไม่มีข้อแตกต่างระหว่างดีกับไม่ดีและอย่างไร คำสอนวัชระยานการปฏิบัติวัชระยานสามารถทำให้เราสามารถบรรลุถึงจุดนั้นได้ ด้วยเวลาอันสั้น แต่ คำถามก็มีอยู่ว่ามีมนุษย์สักกี่คนที่ต้อง การบรรลุรู้แจ้ง เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นทั้งหมด
คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ ด้วย วิธีการซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว้ เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆที่พระอาจารย์ชาวอินเดียได้บันทึกไว้ และได้แปลทั้งหมดสู่ภาษาทิเบต เนื่องจาก คำสอนดั้งเดิมที่เป็นภาษาสันสฤตได้สูญหาย และถูกทำลายไปนานแล้ว ฉะนั้น เราสามารถศึกษาตันตระได้จากภาษาทิเบตเท่านั้น ในปัจจุบัน ภาษาทิเบตจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากได้บันทึกและได้แปลคำสอนต่างๆที่เป็น สันสฤตดั้งเดิมไว้อย่างครบถ้วน
พุทธ ศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตในสมัยกษัตริย์ ซองซันกัมโปเรืองอำนาจ ด้วยความสนพระทัยอันเป็นทุนเดิมอยู่แล้วพร้อมทั้งยังได้รับการแรงหนุนจากพระ มเหสีชาวจีน องค์หญิงเวนเชง ราชธิดากษัตริย์ไทซุงของราชวงศ์ถังและเจ้าหญิงภรูกุฎิแห่งเนปาล องค์หญิงทั้งสองเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาและเคร่งครัดในการปฏิบัติ องค์เวนเชงได้อัญเชิญพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระพุทธรูปซึ่งสร้างในสมัยที่พระ พุทธองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่(ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน3องค์) พระพุทธรูปโจโวพระประธานแห่งวัดโจคัง กรุงลาซา ที่ประดิษฐานมาจนถึงวันนี้ ในยุคนั้นพุทธศาสนาถูกขัดขวางจากลัทธิบอนอันเป็นลัทธิดั้งเดิมอย่างรุนแรง แต่พระพุทธศาสนาก็ยังคงหลั่งไหลเข้าสู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีน ได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของทิเบตว่า ได้มีการสังคายนาโต้วาที ณ กรุงลาซา เป็นการโต้วาทีพุทธศาสนาระหว่างนิกายเซ็นของจีนและวัชระยานจากอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าฑิโซงเดเชน ผลออกมาชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชระยานจากอินเดียมากกว่า ดังนั้น พระเจ้าฑิโซงเดเชนจึงเลือกที่จะให้พุทธศาสนาวัชระยานเป็นศาสนาประจำชาติต่อ ไป พระองค์จึงส่งอำมาตย์ไปนิมนต์ พระศานตรักษิตะภิกษุชาวอินเดียจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทาลันทาคุรุแห่งนิกายสวา ตันติกะมัธยมิกเข้ามาเพื่อสถาปนาพุทธศาสนาขึ้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยว่าเพียงหลักปรัชญาอย่างเดียวไม่ตรงกับอุปนิสัยชาวทิเบต ซึ่งนิยมในการเซ่นสังเวย สิ่งลี้ลับ อิทธิปราฏิหาริย์ ตามลัทธิบอนที่ตนได้เชื่อถือมาแต่โบราณ แม้จะพยายามปรับเปลี่ยนตั้งแต่ในรัชสมัยก่อนๆ ศานตรักษิตจึงได้ให้คำแนะนำแก่กษัตริย์ฑิโซงเดเชนขอให้อัญเชิญคุรุปัทมสมภพ มหาสิทธาจารย์แห่งแคว้นอุทิยาน ผู้บรรลุพุทธธรรมในสายต่างๆมากมายเช่น โยคาจารย์และตันตระแห่งนิกายมนตรายาน เมื่อคุรปัทมสมภพเข้ามาได้ใช้อิทธิและความสามารถจัดการกับผู้ขัดขวางทั้งมวล จากลัทธิเก่าก่อนมีผู้เปลี่ยนเข้าสู่พุทธศาสนาเกือบทั้งประเทศ ส่วนผุ้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนลัทธิความเชื่อก็ถูกย้ายให้ออกไปอยู่ในที่อื่น จนสถาปนาพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติทิเบตได้สำเร็จ คุรุปัทมสมภพได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมากจนได้ยกย่องท่าน ว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 และขานนามท่านว่ากูรูริมโปเช หรือ แปลว่าพระอาจารย์ผู้ประเสริฐกูรูริมโปเช คุรุปัทมสมภพได้ร่วมกับศานตรักษิตสร้างวัดสัมเยขึ้นในปี ค.ศ.787 และ ได้เริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุชาวทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าฑิโซงเดเชน ทั้งนี้ ยังได้จัดนักปราชญ์ ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาทิเบตด้วยอย่างมากมาย
แนวปฏิบัติและหลักคำสอนของกูรูริมโปเช และ ศานตรักษิตได้ผสมผสานกัน และ ต่อมาได้เรียกหลักการนี้ว่า ณิงมา ซึ่งในปัจจุบัน ณิงมาได้มีความหมายเป็น 2 นัยยะ นัยยะหนึ่งคือ รากฐานของพุทธศาสนาของทิเบตทั้งหมดทุกสายทุกนิกาย อีกนัยยะหนึ่ง คือนิกายณิงมาปะ คือนิกาย 1 ใน 4 นิกายใหญ่ของทิเบต
พระพุทธศาสนาในทิเบตได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองจนเกิดวิกฤตการณ์ ขึ้นและจัดแบ่งจนเกิดคำว่าตันตระเก่า,ตันตระใหม่ ตันตระเก่าหรือพุทธศาสนาเก่าหรือที่เรียกว่า "ณิงมา" นับเริ่มตั้งแต่กษัตริย์ ฑิโซงเดเชน ซึ่งครองราชย์ในปี ค.ศ.755-797 พระองค์ได้อัญเชิญกูรูศานตรักษิ ตะ กูรูริมโปเช วิมลมิตรเข้ามา สถาปนาพระพุทธศาสนาจนมั่นคงอยู่หลายรัชกาล จนถึงสมัยกษัตริย์ รางทรามา ซึ่งครองราชย์ในปี ค.ศ.836-842 กษัตริย์รางทรามาได้ร่วมมือกันเสนาบดีซึ่งยังคงนับถือลัทธิเซ่นสังเวยดั้ง เดิมซึ่งมีชื่อเรียกว่า "บอนปะ" ได้ทำลายล้างพระพุทธศาสนาไปจากทิเบตเกือบหมดสิ้น เชื้อพระวงศ์ ภิกษุสงฆ์ ผู้ปฏิบัติพุทธธรรมส่วนใหญ่ต้องหลบหนีเอาชีวิตรอดไปอยู่ในบริเวณชายแดน โดยเฉพาะในแคว้นคามทิเบตตะวันออกเป็นแหล่งที่นักปราชญ์นักปฏิบัติที่หนีออก มาไปรวมอยู่กันมากที่สุด ทิเบตในยุคนั้นศาสนาลัทธิความเชื่อสับสนวุ่นวายไปหมด ผู้ไม่ใช่ชาวพุทธได้นำแนวปฏิบัติของพุทธไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขปฏิบัติเองตามใจ ชอบ เหตุการณ์ทั้งหลายในยุคนี้เป็นเหตุการณ์ที่กูรูริมโปเช่ท่านได้รู้ล่วงหน้า แล้วว่าจะต้องเกิดขึ้น ท่านจึงได้เกิดสอนคำสอนของท่านไว้ในที่ต่างๆทั่วทิเบต เพื่อให้หลังจากกลียุคนี้ผ่านพ้นไปแล้วผู้ปฏิบัติชาวพุทธจะได้มีพระสูตรดั้ง เดิมไว้สอบทาน เพื่อมิให้การปฏิบัติผิดเพี้ยนไป พระธรรมคำสอนที่กูรูริมโปเช่ซ่อนไว้มีชื่อเรียกว่า"เตอร์โตน" หรือมหาสมบัติที่ซ่อนเร้น"
ต่อมาในปี ค.ศ.980 รินเชนสังโป กษัตริย์แห่งแคว้นหนึ่งในทิเบตตะวันตก ผู้ปฏิบัติพุทธธรรมจนบรรลุ ท่านเป็นทั้งผู้ปฏิบัติ และนักปราชญ์ผู้รอบรู้แห่งพุทธศาสนา ได้อัญเชิญอติษะ(ทีปังกรศรีญาณ ภิกษุแห่งมหาวิทยาลัยวิกรมศีลา อินเดีย เข้ามาเพื่อสะสางพุทธศาสนาในทิเบตให้มั่นคงถาวรขึ้นมาใหม่ ในยุคนี้มีกูรูอีกหลายท่านจากอินเดียเข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาจนพุทธศาสนามั่น คงถาวรมาถึงทุกวันนี้ ยุคนี้มีชื่อเรียกว่า "ซามา" หรือยุดตันตระใหม่ ในยุดนี้เองได้เกิดนิกายต่างๆขึ้น เช่น กาดัมปะ,กากจูปะ,สักเจียปะ เป็นต้น ครั้นต่อมา ในยุดนี้พุทธศาสนาก็ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิผลของการเมืองซึ่ง ข่านมงโกล ซึ่งปกครองจีนในขณะเข้าไปมีอิทธิผลเหนือทิเบต แต่พระพุทธศาสนาก็ยังดำรงอยู่ แต่ก็เกิดความสับสนวุ่นวายพอสมควร และในที่สุด กาดัมปะซึ่งก่อตั้งโดยอติษะก็ได้เป็นเป็น นิกายเกลุคปะ โดยโจงคาปา.ในปี ค.ศ.1357

พุทธศาสนาวัชรยานได้แบ่ง เป็นตันตระใหม่และตันตระเก่า

ตันตระใหม่พระศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นผู้สอน โดยมาในปางสัมโภคกาย ได้แบ่งเป็น เก้ายาน สามกลุ่ม
กลุ่ม 1 คือสามยานแห่งเหตุ มี สาวกยาน(หีนยาน) ปัจเจกพุทธยาน((หีนยาน) และโพธิสัตว์ยาน(มหายาน)
กลุ่ม 2 คือ สี่มนตรายานแห่งผล กริยาตันตระ จริยาตันตระ โยคะตันตระ
กลุ่ม 3 คือ อนุตระตันตระ มี ตันตระพ่อ ตันตระแม่ และสหตันตระ
ในมุมมองของวัชรยานทุกประสบการณ์ทุกอารมณ์จะไม่มีการทำลายล้างหรือจ้องที่จะ บังคับตัดขาดมิให้บังเกิดขึ้น แต่จะแปรเปลี่ยนให้เป็นประสบการณ์ อารมณ์ในการบรรลุ ดังเช่นโทสะอันร้อนแรงประดุจเพลิง คอยเผาผลาญสติ ก็จะเปลี่ยนให้เป็นเพลิงอันทรงพลังแห่งพ่อ ถึงแม้ว่าแรงระเบิดเพลิงจะรุนแรงอย่างไรก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความรักลูก ต้องการให้ลูกบรรลุสู่จุดสูงสุดดีที่สุดในชีวิต กระตุ้นให้คิดค้นกลอุบายตามแรงเพลิงโทสะนั้นเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังเช่นการปฏิบัติตันตระพ่อแรงเพลิงแห่งโทสะนำพาสู่อุบายในการเสริมสร้างสติ แห่งการบรรลุ ส่วนโลภะ ความอยากได้ ความต้องการ ความปารถนาในลาภ ยศ สรรเสริญ ก็แปรเปลี่ยนให้เป็นพลังรักแห่งแม่ ที่แสดงออกโดยตรงและยอมรับในทุกประสบการณ์ของลูกโดยไม่ต้องแสวงหาอุบายใดๆ ยอมรับและอยู่ร่วมกับประสบการณ์ของลูกโดยดุษฏี เพื่อความอยู่ดีมีสุขของลูก นั่นคือตันตระแม่ โลภะที่เกิดเปลี่ยนให้เป็นแรง ปารถนาในการบรรลุ ประดุจดังความรัก ความปารถนา และการกระทำของแม่ ตัวผู้ปฏิบัติเป็นแม่ สติคือลูก ผลการบรรลุ คือผลสูงสุดที่ต้องการให้ลูกได้รับ โมหะความลุ่มหลง เช่นการหลงในตนเองว่าเลิศสุดกว่าผู้ใดด้วยเหตุผลนานาประการ ทำให้เกิดการสร้างอาณาเขตแห่งตนขึ้นเกิดความคับแคบในมโนทัศน์และประสบการณ์ หน้าที่อันไม่แบ่งแยกของพ่อและแม่คือการพยายามสร้างอาณาจักรอันไม่มีขีด จำกัดแก่ลูก สหตันตระ มีแง่คิดอยู่ในมุมมองที่ว่าการเปลี่ยนโมหะบ่อเกิดความคับแคบเพื่อให้เป็น พื้นที่ว่างอันกว้างใหญ่ไพศาลเป็น อาณาเขตอันไร้ขอบเขตแห่งจักรวาลซี่งเป็นที่ตั้งแห่งพุทธภาวะ ความไม่แบ่งขั้ว ไม่แบ่งเพศ ไม่มีขีดจำกัดใดๆ

ตันตระเก่าได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันใน นิกายณิงมาปะ สอนโดย พระธรรมกายของพระพุทธเจ้าแบ่งเป็นเก้ายาน อันมี
ยานภายนอก 3 ยาน มี สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน(อันเป็นพุทธศาสนาหีนยานซี่งเน้นการปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อบรรลุอรหันต์ผล) โพธิสัตว์ยานเน้นการปฏิบัติบารมีหก เพื่อเข้าสู่ภูมิที่สิบ อันเป็นภูมิแห่งพระโพธิสัตว์ และตันติกอีก 6 ยานซึ่งเป็นวัชรยานทั้งหมด ซึ่งได้มีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มตันตระภายนอก มี กริยาตันตระ จริยาตันตระ โยคะตันตระ กลุ่มตันตระภายใน มี มหาโยคะตันตระ อนุโยคะตันตระ อธิโยคะตันตระ กลุ่มตันตระภายใน เป็นยานพิเศษที่มีเฉพาะในนิกายณิงมา โดยเฉพาะอธิโยคะซึ่งทิเบตเรียก ซกปะเชนโป สันกฤตเรียก มหาสันติ อันถือเป็นยานหรือคำสอนสูงสุดของพุทธศาสนา การปฏิบัติอธิโยคะในหมู่ผู้มีปัญญาอันเลอเลิศและได้ปฏิบัติด้วยความวิริยะ อุตสาหะ สามารถเข้าถึงพุทธภาวะในเวลาอย่างช้าสามปี ในหมู่ผู้มีปัญญาสูงสามารถบรรลุผลในเวลาหกปี ในหมู่ผู้มีปัญญาระดับทั่วไปก็สามารถบรรลุผลได้ในเวลาสิบสองปี คำสอนการปฏิบัติตันตระที่ได้ปฏิบัติกันอยู่ มาจากหลายแหล่ง เช่นจากที่มีบันทึกอยู่ในพระสูตรกันจุร์ จากที่มีอยู่ในณิงมากิวบุมซึ่งได้แยกบันทึกไว้ต่างหากอีก ยี่สิบห้าฉบับ จากพระอาจารย์ตันตระที่บรรลุมรรคผลโดยเกิดขึ้นเองในจิตของท่าน ในคำสอนทั้งหมดที่สมบูรณ์ที่สุดและแพร่หลายที่สุดเป็นคำสอนที่ถ่ายทอดโดยกู รูรินโปเช่และธรรมศักติเยเซโชเกียว ซึ่งได้ถ่ายทอดโดยตรงและได้เก็บซ่อนไว้ในสถานที่ต่างๆกันซึ่งเรียกว่าเตอร์ มา เพื่อให้เปิดเผยในเวลาต่อมาโดยผู้ที่ได้ถูกกำหนดไว้ซึ่งเรียกว่าเตอร์โตน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 จนถึงปัจจุบัน
คำสอนอธิโยคะได้จัดระดับคำสอนไว้3ระดับ คือ เซมเด ลองเดและเมกาเด ท่านคุรุศรีสิงหะยังได้แบ่งเมกาเดออกเป็นอีก4ระดับคือระดับภายนอก ระดับภายใน ระดับลับ และระดับลับสุดยอด ได้แยกการปฏิบัติออกเป็นสองลักษณะ คือเตกโชและโทกัล เตกโชคือการฟันฝ่าทะลุทะลวงดิ่งตรงเข้าสู่พุทธภาวะและผสานจิตตนเข้ากับ สภาวะธรรมชาติแห่งจักรวาลอย่างฉับพลันทันใด เป็นการสำเร็จพุทธในชาติปัจจุบันนี้ เมื่อถึงกาลสิ้นชีพกายจะเกิดประกายแสงหลากหลายพวยพุ่งออกมาและร่างกายจะสลาย เข้ากับ แสงนั้นและหายไปเหลือเพียงผม เล็บมือเล็บเท้าปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการเกิดกายรุ้ง ซึ่งเกิดในช่วงของการแตกสลายของธาตุทั้ง 4 เพื่อเข้าสู่แสงแห่งปัญญาของสัมโภคกาย ส่วนโทกัลคือการเดินดิ่งเข้าสู่พุทธภาวะ ผู้บรรลุเมื่อสิ้นชีพก็เกิดกายรุ้งเช่นกันแต่ กายรุ้งนั้นจะเห็นได้เฉพาะผู้บรรลุแล้วเท่านั้น วิธีปฏิบัติเมกาเดมีชื่อเรียกว่าณิงติก ได้เรียกชื่อตามพระอาจารย์ที่ค้นพบหรือถ่ายทอดเช่นเจดซุงณิง ติกถ่ายทอดโดย ท่ายเจดซุง คานโดณิงติกโดยท่านเปดมาเล เดเซล กามาณิงติกโดย กามาปะที่3 และรางชุงโดเจ โดเซมณิงติกโดยท่านไวโรจน ลองเชนณิงติกโดยจิกเมลิงปะและเซซุมโอเซลณิงติกโดยจัมยังเคนเซวังโป ในจำนวนณิงติกทั้งปวงที่แพร่หลายและสมบูรณ์ที่สุดคือวิมาณิงติกซึ่งท่านวิมล มิตรได้นำเข้าทิเบต คานโดณิงติกซึ่งท่านกูรูรินโปเช่นำเข้าทิเบต และได้ค้นพบ เรียบเรียงให้เป็นหมวดหมู่เป็นระเบียบโดยลองเชนรับจัมในราวศตวรรษที่13 ในศตวรรษที่17 ท่านจิกเมลิงปะได้รวมวิมาณิงติกและคานโดณิงติกเข้าด้วยกัน โดยให้ชื่อว่าลองเชนณิงติก

ยานที่4 กริยาตันตระ
เป็นการปฏิบัติภายนอกเพื่อนำไปสู่การชำระล้าง โดยการปฏิบัติพิธีกรรมด้วยกายและวาจา พลังทิพย์ที่ได้คือธาตุสูงสุดแห่งความเป็นพุทธ คือปัญญาสูงสุด ซึ่งปัญญาที่ได้มายังประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นได้ ในเชิงจิตวิทยา ตัวผู้ปฏิบัติเปรียบเสมือนผู้รับใช้ในพลังแห่งพุทธนั้น การบำเพ็ญปฏิบัติด้วยความวิริยะ เพื่อรับใช้พลังนั้นด้วยด้วยมั่นใจว่าด้วยความสัมพันธ์นี้จะนำพาผู้ปฏิบัติ เข้าสู่พลังทิพย์แห่งพุทธนั้น ความสำเร็จในการเข้าสู่พลังทิพย์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนโดยใช้เวลาในการ ปฏิบัตินี้ 16 ชาติมนุษย์ การปฏิบัติหีนยานและมหายานที่ได้ปฏิบัติมาเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของการเริ่ม ต้นปฏิบัติตันตระนี้

ยานที่5จริยาตันตระ
เป็นการปฏิบัติเพิ่มเติมต่อเนื่องจากกริยาตันตระซึ่งปฏิบัติพีธีกรรมด้วยกาย และวาจา จริยาตันตระเน้นการปฏิบัติสมาธิ คือการปฏิบัติจิต ควบคู่กันไปด้วย มุมมองของจริยาตันตระคือ ผู้ปฏิบัติและพลังทิพย์แห่งพุทธอยู่ในระดับเดียวกัน เปรียบเหมือนเพื่อน เหมือนพี่ เหมือนน้อง การปฏิบัติจะใช้การเพ่งนิมิตหรือการสร้างมโนทัศน์ ถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในมันดาลา ซึ่งประกอบด้วยองค์วัชรกาย องค์ยิดัม โพธิสัตว์ ธรรมบาล มโนทัศน์ในสมาธิจิตว่าตัวผู้ปฏิบัติก็คือองค์สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น เมื่อเราได้ปฏิบัติไปถึงระดับหนึ่ง เราจะพบว่าถึงแม้องค์สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพลังทิพย์นั้นแม้จะอยู่ในระดับ เดียวกับเรา แต่ก็ยังแยกต่างหากจากตัวเรา นี่คือจุดประสงค์ของการบรรลุสู่วัชรธารา การปฏิบัตินี้ด้วยความวิริยะสามารถบรรลุความเป็นพุทธในเวลา 7 ชาติมนุษย์

ยานที่6โยคะตันตระ
แบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนนอกซึ่งเรียกว่าอุปโยคะตันตระและส่วนใน เรียกว่าอนุตรโยคะตันตระ อุปโยคะตันตระ ถือว่าพิธีกรรมที่ถูกต้องบริสุทธิ์และการปฏิบัติที่เคร่งคัด เป็นเพียงการช่วยเหลือไปสู่การบรรลุสู่พลังทิพย์แห่งพุทธภาวะ สิ่งสำคัญที่ต้องเพ่งคือ ในช่วงสมาธิจิตอันมั่นคงให้มองลึกเข้าไปในสมาธิจิตนั้นให้เห็นการมานะ ปฏิบัติเพื่อรับใช้พลังทิพย์ ได้เกิดพลังขึ้น นั่นคือพลังแห่งการปฏิบัติได้เข้าผสมรวมกับพลังทิพย์แห่งพุทธภาวะ เป็นการเข้ารวมกับปัญญาอันสูงสุด และเข้ากันโดยไม่เหลือร่องรอย คือไม่เหลือขั้วใดๆ คือการเข้าสู่การรู้แจ้งในศูนยตาสภาวะ การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ศูนยตาสภาวะหรือสภาวะอันไม่มีขั้ว เกิดจากการปฏิบัติมุทราทั้งสี่ คือมหามุทรา ธรรมมุทรา ซามายามุทรา กามามุทรา ขันธ์ 5 และอารมณ์ 5 ถูกแปรเปลี่ยนเป็นพระพุทธเจ้า5พระองค์หรือก็คือปัญญาอันสูงสุดทั้ง5 มหามุทราเป็นส่วนขยายความเพิ่มออกมาจากปรัชญาปารามิตา ซึ่งเน้นในการรู้แจ้งภายใน ในวัชรยานจุดเริ่มต้นของมหามุทราได้ต่อเชื่อมกับสมาธิราชาสุตตะซึ่งก็คือ ความหมายเบื้อง ลึกของปรัชญาปารามิตา พระอาจารย์ผู้บรรลุและเชี่ยวชาญในสายการปฏิบัติมหามุทราเรียกว่ามหาสิทธะ ส่วนใหญ่และจะไม่ใช่ภิกษุสงฆ์ แต่เป็นผู้ปฏิบัติสำเร็จมรรคผลในเบื้องลึกสุดยอดแห่งปรัชญา ปารามิตา อยู่ในศูนยตาสภาวะ อยู่ในความไม่มีขั้ว พระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง อาทิ ซาราฮา ติโลปะ นาโรปะ มารปะ มิลาเรปะ อนุตรโยคะตันตระ ซึ่งเป็นตันตระในและถือเป็นส่วนที่คาบเกี่ยวกันระหว่างตันตระนอกและใน คัมภีร์หลักของอนุตระตันตระคือ กูเฮี้ยสมัชชา คำว่ากูเฮี้ยแปลว่าไม่ได้เปิดเผย ความหมายของกูเฮี้ยสมัชชา คือกายวาจาใจของพระพุทธเจ้าในส่วนที่ไม่ได้นำเสนอต่อสมัชชาสงฆ์ปัจเจกพุทธ และ ผู้ปฏิบัติทั่วไปในมหายานคำภีร์นี้ได้เปิดเผยในทิเบตตะวันออกโดยบัน ฑิตสัมฤทธิฌานะในศตวรรษที่ 11

ยานที่7 มหาโยคะ
มหาโยคะจัดอยู่ในตันตระภายในซึ่งจัดอยู่ในช่วงของการพัฒนา ในคำสอนของพุทธศาสนาทั่วไปได้จัดความจริงออกเป็นสองประเภทคือความจริงทางโล กียะ หรือสมมุติสัจและความจริงทางโลกุตระหรือปรมัตถ์สัจ แต่ในมหาโยคะจะพูดถึงความจริงที่3 ความจริงที่3สอนให้ใช้อารมณ์ทุกอารมณ์ ทุกสภาพแวดล้อม ทุกสถานการณ์ ให้เป็นยานพาหนะนำไปสู่สมาธิซึ่งคงที่และสูงยิ่งๆขึ้นเพื่อบรรลุมรรคผลใน ชาตินี้ ทุกสถานการณ์ ทุกอายตนะสามารถแปรเปลี่ยนเป็นมันดาลา องค์พุทธ ยิดัม ธรรมบาล ประทับอยู่มากมาย ซึ่งหลากหลายรูปลักษณ์ กระแส เสียงและสีสัน ทั้งปวงถือเป็นการแบ่งภาคมาจากตรีกาย ในการปฏิบัติศาทนะ(พีธีกรรม มุทรา มนตรา)จะทำให้จิตของผู้ปฏิบัติใสดังเช่นกระจก เป็นมันดาลาที่ใสบริสุทธิ์ มหาโยคะเน้นในการสร้างมโนทัศน์ในสมาธิจิต

ยานที่8 อนุตรโยคะ
อนุโยคะจัดอยู่ในช่วงของการบังเกิดผล โดยเน้นไปที่ความรู้สึกในศูนยตาของมันดาลา ภาพมันดาลาในมหาโยคะเปรียบดังภาพในมิติเดี่ยว แต่ภาพเดียวกันในมันดาลาเปรียบดังภาพหลายมิติสามารถบ่งบอกถึงอารมณ์ในศูนยตา ในอนุโยคะ รูป เสียง สัมผัส ในสรรพสิ่งที่เรารู้สึกได้ ให้มีความรู้สึกในอารมณ์แห่งศูนยตา ความรู้สึกเช่นนี้ถือเป็นลัญลักษณ์ความรู้สึกของธรรมกาย ซึ่งเรียกว่ากุนตูซังโม ภาพที่เห็นหรือสิ่งที่ปรากฏขี้นคือสัญลักษณ์ของธรรมกายเปรียบดังเพศชาย ส่วนความรู้สึกในศูนยตาของธรรมกายคือกุนตูซังโม เปรียบดังเพศหญิง การรวมกันของกุนตูซังโปและกุนตูซังโมเกิดสภาวะอิสระแห่งจักรวาลหรือพุทธภาวะ หรือสภาวะเหนือเหตุและผล การปฏิบัติอนุโยคะได้ด้วยการฝึกบังคับลมปราณต่างๆในร่างเพื่อนำพาร่างวัชร ของเรา คือกุนตูซังโปเข้ารวมกับความรู้สึกแห่งศูนยตาคือกุนตูซังโม เพื่อบังเกิดผลในสภาวะอิสระแห่งจักรวาล

ยานที่9 อธิโยคะ
อธิโยคะคือการแสดงออกที่สมดุลย์การเข้ากันได้อย่างดีที่ สุดของสิ่งที่ปรากฏและความรู้สึกแห่งศูนยตา ดังนั้นอธิโยคะจึงเน้นที่พุทธภาวะหรือสภาวะเหนือเหตุและผลดั้งเดิมซึ่งมี อยู่ประตัวในทุกสรรพสิ่ง สรรพสิ่งเกิดขึ้นพร้อมกับปัญญาดั้งเดิม ปัญญาดั้งเดิมนำพาเข้าสู่สภาวะอิสระแห่งจักรวาลดั้งเดิมนั่นคือพุทธภาวะ สภาวะอิสระแห่งจักรวาลจึงเป็นสภาวะอันปราศจากรูปแบบ ปราศจากมิติ การแตกแยกหรือการรวมกลุ่มใดๆ และสภาวะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นเพราะว่ามันมีอยู่แล้ว ด้วยสภาวะจิตอิสระแห่งพุทธนั้น แม้แต่กายหยาบก็สามารถนำพาเข้าเอกภาวะนั้นได้ด้วย และกายนั้นก็ไม่ต้องถูกยึดติดด้วยเหตุผลใดๆหรือมิติใดๆ
ในคำสอนอธิโยคะ ซึ่งถือเป็นคำสอนสูงสุดของทุกยานที่มีอยู่ มีคำสอน หกล้านสี่แสนประโยด ซึ่งเปิดเผยและถ่ายทอดสู่โลกมนุษย์โดยวัชรสัตโต โดยการับโดเจเป็นผู้รับมอบ ซึ่งถือเป็นส่วนน้อยนิดที่ที่ได้ถ่ายทอดออกมา ยังมีอีกมากมายมหาศาลที่ไม่ได้ถ่ายทอดออกมา อธิโยคะมาจากองค์ธรรมกายสมันตรภัทร(กุนตูซังโป)ถ่ายทอดสู่วัชรสัตโตองค์ สัมโภคกาย ถ่ายทอดต่อยังการับโดเจองค์นิรมานกายซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้รับถ่ายทอด จากนั้นสู่มัญชูศรีมิตตา ซึ่งมัญชูศรีมิตตาได้นำคำสอนหกล้านสี่แสนประโยคไปจัดกลุ่มเป็นเซมเด ลองเด เมกาเด และถ่ายทอดให้ศรีสิงหะ ศรีสิงหะได้แบ่งเมกาเดออกเป็นสี่ระดับ ระดับนอก ระดับใน ระดับลับ และระดับลับสุดยอดและได้ถ่ายทอดสู่ ฌานะสุตตะ กูรูรินโปเช่ และไวโรจนะ ฌานะสุตตะได้ถ่ายทอดให้วิมลมิตร และวิมลมิตรยังได้รับการถ่ายทอดจากการับโดเจโดยตรงในมิติแห่งนิมิตร ไวโรจนะ วิมลมิตร และกูรูรินโปเช่ได้นำคำสอนทั้งหมดเข้าสู่ทิเบตและได้ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้
วัชรยานคือชื่อ เรียกโดยรวมในแนวคิดทุกทางทั้งวินัย สุตันตระ และอภิธรรม ส่วนตันตระคือวิธีปฏิบัติคำว่าตันตระคือการต่อเนื่องซึ่งมีและไม่มีจุดเริ่ม ต้นและจุดที่จบในขณะเดียวกันดังเช่นการดำเนินไปบนเส้นรอบวง ด้วยว่าทุกจุดเป็นจุดเริ่มและจบได้ด้วยกันทั้งนั้น ในวัชระยาน สภาวะอิสระแห่งพุทธได้เกิดขึ้นพร้อมกับจักรวาล เกิดขึ้นด้วยศูนยตาสภาวะ การดำเนินไป การวิวัฒนาการ แห่งสรรพสิ่ง ดำเนินไปบนเส้นรอบวง ทุกจุดบนเส้นรอบวงไม่ใช่จุดเริ่มต้นและไม่ใช่จุดจบ เช่นกันทุกจุดบนเส้นรอบวงก็เป็นได้ทั้งจุดเริ่มต้นและจุดจบ ดังนั้น ทุกจุดจึงสามารถเป็นจุดแห่งสภาวะอิสระดังเดิมได้ทั้งนั้น ฉะนั้นการเดินทางของพุทธตันตระคือการเดินไปมองไปเพื่อให้จำให้ได้ว่านี่คือ จุดเริ่มต้นของเราอธิโยคะ ก็คือการชี้ตรงลงไปเลยว่าจุดนี้คือจุดแห่งสภาวะอิสระดั้งเดิมแห่งเรา และเราจะอยู่ในจุดนี้จุดที่อิสระจากการควบคุมใดๆจุดที่อยู่นอกเหนือจากมิติ เหตุและผลใดๆทั้งปวง


นิกายสำคัญ 4 นิกายในทิเบต

ในช่วงศตวรรษที่8-11 พุทธศาสนาของทิเบต มีชื่อเรียกว่า ณิงมา หรือพุทธศาสนาโบราณ ซึ่งเป็นรากฐานของพุทธศาสนาทิเบตทุกนิกาย ในยุคนี้ยังไม่มีนิกายอื่นๆ ดังนั้นคำว่าณิงมา ในนัยยะนี้เป็นพุทธศาสนาของทิเบต และเมื่อต่อมามีการนำหลักปฏิบัติในพุทธศาสนาในแนวอื่นๆจากอินเดียเข้ามาใหม่ ก็เกิดนิกายต่างๆขึ้น แต่ในทุกนิกายก็ต้องมีณิงมาเป็นส่วนหนี่งด้วย

ณิงมาปะ
ณิงมา เป็น นิกายแรกและเก่าแก่ดั้งเดิม และยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยถือ ว่ากำเนิดจากท่านคุรุปัทมสมภพ ณิงมาปะ ได้มีพัฒนาการ ครั้งใหญ่ๆ 3 ครั้ง คือ การเริ่มต้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นพุทธศาสนาของทิเบตด้วย และ เป็นนิกายเดียวที่มีอยู่ในช่วงนั้น คือศตวรรษที่ 8-11 คำว่า ณิงมา แปลว่าโบราณ สัญลักษณ์ของนิกายคือใส่หมวกสีแดง ชาวทิเบตเลื่อมใสศรัทธาท่านคุรุปัทมภพมาก เชื่อว่าท่านเป็นผู้ทรงพลานุภาพอย่างมากในการให้ความช่วยเหลือ ขจัดอุปสรรค ต่างๆได้จนหมดสิ้น ณิงมาปะ ได้เน้นในด้านพุทธตันตระ คำว่าตันตระนั้นแปลว่า เชือกหรือเส้น ด้ายใหญ่ๆ หรือความต่อเนื่องซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการถ่ายทอดคำสอนจากอาจารย์ไปสู่ศิษย์ โดยไม่มีการขาดตอน โดยผ่านพิธีอภิเษกและเป็นการถ่ายทอดคำสอนปากเปล่าจาก อาจารย์ สู่ศิษย์ ในคำสอนของตันตระเน้นในการสวดมนตราธารณี การใช้สัญลักษณ์มุทรา สัญลักษณ์มันดาลา ในการประกอบพิธี เพื่อเข้าสู่การบรรลุพระโพธิญาณ หลังจากสมัย คุรุปัทมสมภพแล้วก็ได้มีการค้นพบคำสอนซึ่งถูกซ่อนไว้ โดยคุรุปัทมสมภพ ในทิเบตเรียกว่า เตอร์มา ซึ่งแปลว่าขุมทรัพย์อันล้ำค่า และได้ทำนายไว้ว่าในอนาคต ศิษย์ของท่านจะเป็นผู้ค้น พบและเปิดขุมทรัพย์ องค์คุรุปัทมสมภพได้ให้เหตุผลไว้ 3 ประการ 1เพื่อไม่ให้คำสอนผิดเพี้ยน ไปเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ 2 เพื่อให้พลังแห่งคำสอนนั้นอยู่ ครบถ้วนบริบูรณ์ 3 เพื่อเป็นการให้พร แก่คนรุ่นหลังที่ได้สัมผัสกับคำสอนดั้งเดิม

คำสอนณิงมาปะเน้นในเรื่องความไม่เป็นแก่นสารของจักรวาลและเน้นถึงความเป็นไป ได้ในการตรัสรู้ในเวลาอันสั้นหรือทันทีทันใด หลักการสอนและปฏิบัติณิงปา คือปฏิบัติควบคู่กันไปทั้งสูตระและตันตระ โดยประยุกต์รวมผสานปรัชญานิกายมัธยมิก โยคาจารย์และจิตอมตะเข้าด้วยการใช้หลักปฏิบัติของมนตรายาน (ดูรายละเอียดในนิกายของมหายานอินเดียในเพจปรัชญา มหายาน) ณิงมาปะ ได้แบ่งพุทธศาสนาออกเป็น9ยานคือ สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตว์ยาน คือสามยานขั้นต้น กริยาตันตระ จริยะตันตระ โยคะตันตระ เป็นสามยานในชั้นกลางหรือจัดเป็นตันตระต่ำและ มหาโยคะตันตระ อนุตรโยคะตันตระและอทิโยคะตันตระ สามยานสุดท้าย หรือจัดเป็นตันตระสูง อนุตรโยคะตันตระจัดเป็นตันตระสูงสุดของตันตระทุกระดับยกเว้น อทิโยคะตันตระ คุหยสมาช กาลจักร จักรสังวร ล้วนจัดอยู่ในอนุตรโยคะตันตระทั้งสิ้น ส่วน อทิโยคะตันตระหรือซกเชนถือเป็นตันตระพิเศษสูงสุดกว่าตันตระใดๆซึ่งเป็นวิธี ปฏิบัติของ สมัตรภัทรพุทธ เป็นวิธีการเจาะเข้าสู่พุทธะภาวะโดยตรงหกยานแรกเป็นพื้นฐานของพุทธ ตันตระทั่วไปทุกนิกายส่วนสามยานสุดแท้เป็นลักษณะพิเศษของณิงมา ท่านเชอเกียมตรุงปะ วัชราจารย์แห่งณิงมาผู้มีชื่อเสียงอย่างมากในโลกตะวันตกในศตวรรษที่20ได้ กล่าวไว้ว่า หีนยานได้กล่าวว่าตนเข้าถึงความจริงแท้และให้หนทางที่ดีที่สุดมหายานก็กล่าว ว่าพระโพธิ สัตว์ได้ให้หนทางที่ดีที่สุดในการเข้าสู่สัจจะธรรม ส่วนผู้ปฏิบัติวัชระยานก็ว่า มหาสิทธะผู้ทรง ฤทธิ์อำนาจวิเศษสามารถมอบ หนทางสู่การบรรลุได้อย่างวิเศษสุด คำถามและคำตอบมาก มายที่ได้เกิดขึ้นพร้อมกับความสับสนต่างๆนาๆแล้วอะไรเล่าจึงเป็นสิ่งที่ ปรารถนาของศิษย์ ผู้ต้องการเข้าสู่พระพุทธธรรม อทิโยคะตันตระได้ให้คำตอบไว้ว่าการมองทุกสรรพสิ่งด้วยสาย ตาของเอกซ์เรย์ มองทุกสรรพสิ่งได้อย่างทะลุปรุโปร่ง และ ปฏิบัติตนอย่างเปล่าเปลือยทะลุ ปรุโปร่งเช่นกัน นั่นจึงเป็นธรรมชาติแท้แห่งพุทธะภาวะ
อทิโยคะตันตระซึ่งจัดเป็นยานสูงสุดของพุทธศาสนา และถือว่าเป็นธรรมวิธีที่สูงสุด มีหลักการว่ารู้กระจ่างในธรรมกายตนและให้ธรรมกายตนออกหน้าในทุกภาวะ ผลที่ได้ตนก็คือพระพุทธเจ้า

นิกายกากยู
นิกายนิกายกากยูเป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งในต้นศตวรรษที่ 11 นิกายกากยูแปลว่าการถ่ายทอดคำสอนด้วยการบอกกล่าวจากปากอาจารย์สู่หูของศิษย์ ผู้ก่อตั้งคือมาร์ปะผู้สืบสายคำสอนมาจากนาโรปะนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งมหา วิหารนาลันทาผู้รับสืบทอดคำสอนมาจากติโลปะผู้ถือว่ารู้แจ้งเองไม่ปรากฏว่า ท่านได้รับคำสอนจากพระอาจารย์ท่านใด แต่ได้มีบันทึกบอกกล่าวไว้ว่าท่านได้รับคำสอนโดย ตรงจากพุทธวัชระธารา
นาโรปะท่านเป็นคุรุผู้บรรลุและเชี่ยวชาญ ทั้งโยคะและปรัชญาทั้งมวลของโยคาจารย์แห่งมหาวิทยานาลันทา ท่านเป็นคุรุผู้ทดสอบคัดเลือกบุคคลซึ่งจะเข้ารับการศึกษาในมหาวิทยาลัยนาลัน ทาทางทิศเหนือ (ช่วงนี้ท่านได้รับศิษย์ไว้ผู้หนึ่ง ชื่อศรีภัทร และต่อมาศรีภัทรได้เป็นอาจารย์ผู้หนึ่งของ อติษะ ผู้เดินทางไปทิเบตและได้ตั้งนิกายกาดัมปะและต่อมาพัฒนาเป็นเกลูปะ) ภูมิรู้ของท่านเต็มเปี่ยน แต่ท่านก็ไม่บรรลุโพธิญาน จนเมื่อท่านได้รับรู้ว่ามีคุรุผู้สามารถช่วยให้ท่านได้บรรลุโพธิญานอยู่ท่าน หนึ่ง ชื่อว่าติโลปะ นาโรปะจึงได้ละทิ้งภารกิจของท่านออกเสาะหา จนกระทั่งได้พบคุรุติโลปะ ขณะที่ท่านได้พบติโลปะ ติโลปะได้กำหนดสภาพตนเองให้นาโรปะพบด้วยฐานะของขอทานสกปรกมอมแมม เกรี้ยวกราด ดุร้ายไม่มีเหตุผล คุรุติโลปะได้เคี่ยวเข็ญทรมานนาโรปะมากมายหลายประการ เพื่อลดทอนทำลายทิฐิ ยึดมั่นในความเป็นมหาบัณฑิตผู้รอบรู้สรรพศาสตร์ จนเมื่อถึงที่สุดเมื่อกาลเวลาแห่งการบรรลุมาถึง ติโลปะได้ใช้รองเท้าของตนตบไปที่หัวของนาโรปะ นาโรปะก็ได้บรรลุโพธิญาณในบัดเดี๋ยวนั้น จากนั้นมานาโรปะก็ได้ท่องเที่ยวโปรดสรรพสัตว์ทั่วไปจนได้พบกับมารปะซึ่งเป็น ชาวทิเบตและได้ถ่ายทอดธรรมให้ เพื่อให้นำไปโปรดชาวทิเบตต่อไป
มาร์ปะโชจิโลดูซ์ เป็นลามะปราชญ์ผู้แปลพระธรรมที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่ง ของ ทิเบต ท่านได้เผยแพร่ธรรมที่ได้รับจากนาโรปะ จนมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว แนวคำสอนของท่านเป็นการถ่ายทอดปากเปล่าจากปากของคุรุสู่หูของศิษย์ จึงมีการเรียกแนวทางของท่านว่ากระซิบบอก ท่านมีศิษย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่านแต่ที่มีชื่อเลื่องลือที่สุดคือ มิลาเรปะ มหาโยคีผู้บรรลุความรู้แจ้งในชีวิตนี้ มาร์ปะและมิลาเรปะถือว่ามีความ สำคัญมากในพุทธตันตระของทิเบต ท่านได้ประพันธ์คำสอนไว้มากมาย บทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านคือ “หนึ่งแสนธรรมคีตาของมิลาเรปะ” (มีการแปลออกเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก โดยอีวานแวน ผู้ช่วยคนสำคัญของโยคีเชนศิษย์ชาวจีนของนอราริมโปเช) มิลาเรปะ มีศิษย์ทั้งหมด21ท่าน ท่านที่มีชื่อเสียงที่สุดคือกัมโปปะ นิกายกากยูปะเป็นนิกายที่มีชื่อเสียงมากใน ศตวรรษที่13 เนื่องด้วยมิลาเรปะมีศิษย์หลายท่านกัมโปปะเองก็มีศิษย์หลายท่านทำให้นิกาย นิกายกากยูได้มีการพัฒนาไปตามแนวทางคำสอนของศิษย์แต่ละท่านได้รับ จึงเกิดนิกายกากยูในสายต่างๆขึ้นมาหลายสาย ในปัจจุบันสายกรรมะนิกายกากยูมีชื่อเสียงมากที่สุดด้วยความสามารถของกรรมะปะ องค์ที่16 คำสอนของนิกายกากยูก็ไม่ได้แตกต่างไปจากนิกายอื่น คือเน้นไปที่พุทธตันตระ ตันตระโยคะทั้ง 6 ของนาโรปะ การสืบทอดวิญญาณและ การปฏิบัติตันตระมหามุทรา
โยคะทั้ง 6 ของนาโรปะ ประกอบด้วย
1 คตุม.ม้. ตุม.โม การบรรลุด้วยธรรมวิธีเกี่ยวกับพลังความร้อนภายในกาย
2 q^.ลูซ. จู.ลูซ์. การบรรลุด้วยธรรมวิธีเกี่ยวกับกายมายา ปรากฏการณ์ทั้งมวลเป็นมายาดั่งผีหลอก
3 nj.ลม. มิ.ลัม. การบรรลุด้วยธรรมวิธีเกี่ยวกับความฝัน ฝึกฝนปฏิบัติในขณะฝันและจิตบรรลุดั่งฝัน
4 อ้ด.คซล. โอะ.ซัล. การบรรลุด้วยธรรมวิธีเกี่ยวกับแสงประภัสสร
5 บร.ด้. บัร.โด. การบรรลุด้วยธรรมวิธีเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย
6 อภ้.บ. โภ.วา. การบรรลุด้วยธรรมวิธีเกี่ยวกับเคลื่อนย้ายจิตวิญญาณ การย้ายจิตวิญญาณเข้าสู่สุขาวดีพุทธเกษตร เพื่อรับคำสอนและปฏิบัติเบื้องพระพักตร์ของพระอมิตาภะพุทธเจ้า
นิกายนิกายกากยูมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านิกายขาว สืบเนื่องจากการครองผ้าของมิลาเรปะซึ่งท่านจะครองผ้าบางๆสีขาวตลอดเวลาหรือ อาจ จะมาจากสัญลักษณ์ของวัดในนิกายกากยูปะซึ่งจะทาสีขาวทั้งหมด
นิกายนิกายกากยูมีแนวปฏิบัติพื้นฐานมาจากแนวปฏิบัติ ณิงมาทั้งหมด แต่ที่ทำให้เป็นนิกายกากยูก็คือการปฏิบัติขั้นสุดท้ายของมารปะซึ่งรับถ่าย ทอดมาจากนาโรปะ ก็คือธรรมวิธีสูงสุดซึ่งจัดอยู่ในยานที่แปด คืออนุตรตันตระหรือมหามุทรา หลักการของอนุตรตันตระก็คือ ทุกขณะจิต จิตตนและจิตพระพุทธเจ้ารวมเป็นจิตเดียวกัน นั่นคือคำว่า เอกจิต

นิกายสักกยะ
นิกายนี้ได้มาจากชื่อของวัดสักกยะ คำว่าสักกยะหรือสำเนียงทิเบตว่าสักเจียแปลว่าดินชนิดหนึ่ง ในบริเวณจั้ง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำยาลุงซังโป วัดของสักกยะมีเอกลักษณ์คือทาสีเป็น3 แถบ คือแถบสีแดงสีขาวสีดำ สีทั้ง3เป็นสีแห่งพระโพธิสัตว์ 3 องค์ซึ่งนิกายสักกยะ ให้ความ สำคัญมาก คือ สีแดงสีแห่งพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ผู้ทรงปัญญาคุณ สีขาวสีแห่งพระอวโลติเก ศวรโพธิสัตว์ ผู้เมตตากรุณาคุณ สีดำสีแห่งพระวัชระปราณีโพธิสัตว์ ผู้ทรงพลาคุณ ในประเทศ ได้เรียกชื่อนิกายนี้ว่า นิกายหลายสี ซึ่งก็ได้เรียกมาจนถึง ทุกวันนี้นิกายสักกยะได้ตั้งขึ้นใน ศตวรรษที่ 11 ผู้ก่อตั้งนิกายคือผู้สืบเชื้อ สายขุนนางเก่าตระกูล คอน คอนโซก เกียวโป ท่านได้รับคำสอนตันตระกาลจักรจากบิดาซึ่งรับคำสอนมากจากวิรูปะโยคีชาว อินเดีย คอน คอน โซกเกียวโปได้เดินทางไปเรียนตันตระจากอาจารย์อีกท่านคือโยมิโลซาวา คอน คอน โซกเกียวโปได้สร้างวัดของนิกายสักกยะขึ้นใกล้แม่น้ำถอม เป็นบัญญัติของคอนคอนโซกเกียว โปว่าการสืบทอดในนิกายสักกยะจะสืบทอดเฉพาะคนในตระกูลคอนเท่านั้นตำแหน่งของ เจ้านิ กายสักกยะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจทั้งในทางการเมืองและการศาสนาความสำคัญใน เชิงประวัติ ศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าผู้สืบสายนิกายสักกยะท่านที่4คือคุงก้าเกียวเจนหรือ สักกยะบันฑิตและ หลานของท่านที่ชื่อว่าพักปะโลดุปเกียวเจนทั้ง 2ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในการ เมืองของทิเบตมาก ทั้ง2ท่านได้รับการเชิญจากโดยข่านชาวมงโกลให้ไปแผ่แพร่พุทธตันตระในประเทศ จีนเป็นที่ เลื่อมใสแก่ข่านมงโกลอย่างมาก กุบไลข่านได้แต่งตั้งให้พักปะโลดุปเกียวเจนให้ปกครองทิเบต และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการที่พระสงฆ์นั้นปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนาจักร

นิกายกาดัมและเกลูปะ
จุดเริ่มของทั้ง 2 นิกายมาจากอติษะและศิษย์ของท่านชื่อดอมทอนปะ อติษะหลักการสอนของอติษะเน้นที่สูตระเป็นสำคัญและเน้นในการปฏิบัติพระธรรม วินัยที่เคร่งครัดก่อน(หลักการส่วนใหญ่จะคล้ายมหายานทั่วไป) แล้วจึงปฏิบัติตันตระได้ ศิษย์ของอติษะได้ก่อตั้งนิกายกาดัมปะขึ้นคำว่ากา ดัมแปลว่าคำสอนของพระพุทธ เจ้า เมื่อเวลาผ่านไปกาดัมปะได้สูญเอกลักษณ์ของตนเองไปบ้างด้วยแรงดึงดูดใจจาก ตันตระ ในศตวรรษที่14โจงคาปาพระภิกษุที่มีชื่อเสียงทรงความรู้ความสามารถในการ จัดการองค์กรได้ ศึกษาคำสอนของอติษะได้ปฏิวัตินิกายกาดัมปะขึ้นมาใหม่ให้คงเอกลักษณ์ เดิมและ ได้เปลี่ยน ชื่อใหม่เป็นนิกายเกลูปะ คำว่าเกลู แปลว่าความดีที่เป็นกุศล คำสอนของเกลูปะ เน้นที่การ ค่อยๆศึกษาจากต่ำขึ้นไปสูงเน้นในวินัยเน้นในด้านตรรกะเกลุปะจะบัญญัติให้ ภิกษุที่พรรษาไม่มากไม่ให้ศึกษาตันตระเอกลักษณ์ของนิกายคือสวมหมวกสีเหลือง หรือนิกายหมวกเหลืองซึ่ง เป็นนิกายในสังกัดของดาไลลามะ
ดูคำอธิบายเพิ่มเติมเรื่องนิกายทั้งสี่ในเพจคำ อธิบายหนังสือทุกย่างก้าวคือการเรียนรู้
มีนิทานพุทธที่เล่ากันทั่วไปในทิเบต เรื่องต้นไม้พิษ ต้นไม้พิษนี้เป็นต้นไม้ที่มีพิษร้ายแรงมากแม้ ใครหลงไป กินผลของมันเข้าจะทุรนทุรายสาหัสสากรรจ์ เนื่องจากทุกคนรู้ถึงพิษของต้นไม้นี้จึง คิดที่จะทำลายต้นไม้นี้เสีย คนกลุ่มหนึ่งก็ให้ความคิดว่าต้องถอนรากถอนโคนไม่ให้เหลือแม้แต่รากฝอยของ ต้นไม้ไว้ แต่ก็มีคนอีกกลุ่มเสนอว่าเพียงตัดโคนหรือตัดส่วนสำคัญของมัน ต้นไม้ก็จะตายไปในที่สุด และยังมีอีกกลุ่มซึ่งมีภูมิความรู้ทางการแพทย์และเคมีมาบ้างเสนอว่าไม่จำ เป็นต้องไปทำลายต้นไม้ทิ้ง เพียงแต่นำพิษของมันไปปรุงเป็นยาวิเศษเพื่อเพิ่มพลังในการรักษาโรคได้ เป็นเพราะพวกคุณ 2 กลุ่มแรกไม่รู้ในวิธีปรุงยา ถ้าไม่มีพิษนี้ก็ไม่มีวัตถุดิบในการปรุงยา ในขณะที่กลุ่มคนทั้ง3กำลังให้ความเห็นกันอยู่นั้น ก็มีนกยูงตัวหนึ่งเข้ามาและกินผลไม้พิษนั้นเป็นอาหารโดยที่พิษไม่เป็น อันตรายต่อนกยูงแต่ประการใด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มสีสันความสวยสดงดงามของขนหางความแข็งแรงของร่างกายด้วย
จากนิทานต้นไม้พิษนี้พอจะเปรียบเทียบได้กับ การปฏิบัติในพุทธศาสนาที่เน้นวิธีการที่ไม่เหมือนกัน กลุ่มแรกเน้นในเรื่องการขุดรากถอนโคนโดยสิ้นเชิงในกิเลสทั้งปวงเพื่อป้องกัน มิให้มันเกิดขึ้นได้ใหม่ โดยการปฏิบัติศีลสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญาอันเป็นแนวทางของเถรวาท การปฏิบัติตามแนวนี้ต้องบวชเป็นภิกษุจึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด การปฏิบัติศีล สมาธิ โดยการทำให้จิตว่าง เข้าไปสู่ปัญญา โดยการใช้สมถะ วิปัสสนา จะทำให้ผู้ปฏิบัติค่อยๆหลุดจากพิษของความโลภ โกรธ หลง
วิธีการที่2เป็นวิถีทางแห่งมหายาน ซึ่งถือว่าการตัดจุดสำคัญของต้นไม้พิษก็จะทำให้ต้นไม้พิษนั้นตายได้จุดสำคัญ สุดยอดก็คือ อาตมันการยึดติดกับอาตมันคือ ตัดตรงจุดนี้ก็ทำให้หลุดพ้น ได้การยึดในความเป็นแก่นสาร หรือความจีรังต่างๆเมื่อถูกตัดด้วยดาบแห่งศูนยตา ฟันแก่นของการยึดติด เข้าสู่ปัญญาแห่งความไม่มีแก่นสารของจักรวาล
กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มของแพทย์ และนักเคมีที่ต้องการแปรเปลี่ยนสภาพ คือวิถีแห่งวัชระยานแทนที่จะทำลายต้นไม้พิษทิ้ง แต่กลับนำพิษจากต้นไม้พิษ ใช้วิธีการพิเศษให้แปรสภาพพิษกลายเป็น ยาวิเศษ ยาวิเศษก็คือ ฌานให้เกิดปัญญาโดยวิธีการสร้างมโนจิตตัวเองให้ดำรงจิตอยู่ใน ฌาน ความรู้ตัวทุกขณะจิตไม่ว่าจะอยู่ในอารมณ์ชนิดใด ปัญญาแห่งการบรรลุก็บังเกิดขึ้น
ตัวนกยูงก็ คือวิถีทางแห่งการหลุดพ้นดั้งเดิม ซึ่งในทิเบตเรียกว่า อทิโยคะ หรือซกเชนหรือในสันสฤต เรียก มหาสันติ ในวิธีนี้คือการเข้าไปสู่การรู้แจ้งโดยการเจาะทะลวงเข้าไปเลย การเข้าสู่การรู้แจ้งโดยไม่ผ่านขั้นตอนต่างๆ เช่น การตัดขาด การขจัด ชำระล้าง หรือการแปรสภาพใดๆ เป็นการเข้าสู่การรู้แจ้งแบบตรงดิ่งเข้าไปเลย ไม่ต้องผ่านพิธีการใดๆซึ่งหนทางนี้ได้รับการ กล่าวขานว่า เป็นวิธีที่สูงที่สุดในวัชระยานในทิเบตได้มี การเก็บรักษาคำสอนต่างๆของพุทธศาสนา ไว้อย่างสมบูรณ์แบบทุกหนทางเพื่อเป็นหนทางแก่พุทธศาสนิกชนทุกแบบทุกประเภท ได้เลือกรูปแบบ และวิธีการที่เหมาะกับตนในการบรรลุสู่ความรู้แจ้งซึ่งบางรูปแบบก็ไม่เป็นที่ ยอมรับของพุทธศาสนิกชนในประเทศอื่น แต่ในประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนาวัชระยานมีพระ อาจารย์ในสายปฏิบัตินี้ มากมายที่บรรลุความรู้แจ้งในบริเวณประเทศแถบหิมาลัยและประเทศในสายปฏิบัติ วัชระยาน
พุทธศาสนาวัชระยานใน ประเทศไทย ตามหลักฐานที่ปรากฏแต่โบราณพุทธศาสนามหายานและวัชระยานได้เข้าสู่สุวรรณภูมิ ก่อนแต่ไม่ ปรากฏว่ามีการปฏิบัติวัชระยานในดินแดนแถบนี้ เป็นที่ปรากฏแน่ชัดว่าการปฏิบัติวัชระยานในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นประมาณ70ปี ที่แล้ว โดยพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร(โพธิ์แจ้ง) มหาอริยะสงฆ์แห่งช่วงกึ่งพุทธกาล ผู้ซึ่งท่านนอร่ารินโปเช่ สังฆราชาแห่งวัดริโวเช่ วัดซึ่งใหญ่ที่สุด มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดแห่งแคว้นคามในทิเบตตะวันออก ได้เคยกล่าวไว้ว่า ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งคือ “ตุลกู แห่ง คุรุนาครชุน” ผู้มาเพื่อสถาปนาความมั่นคงแห่งพุทธศาสนามหายานในภูมิภาคนี้ ในช่วงที่ท่านเจ้าคุณได้กลับจากการศึกษาวัชระยานในทิเบตในราวปี พ.ศ.2482ท่านได้รับศิษย์ปฏิบัติวัชระยานไว้หลายท่านท่านเจ้าคุณได้สร้างวัด โพธิ์เย็นขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็น ศูนย์กลางในการปฏิบัติวัชระยาน ในปีฉลองกึ่งพุทธกาลท่านได้สร้างองค์คุรุปัทมะสมภพขึ้น2องค์ประดิษฐาน ณ องค์พระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐมหนึ่งองค์ และประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์เย็นหนึ่งองค์ ดังนั้นจึงอาจนับได้ว่า พุทธศาสนาวัชระยานได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยโดยการนำของท่านเจ้าคุณอาจารย์ โพธิ์แจ้ง

No comments:

Post a Comment