พระพุทธศาสนา
น้อมประณตคุรุผู้เมตตา
องค์พระศาสดาผู้ทรงคุณ
พระธรรมสาดส่องหล้าฟ้าอรุณ
เทิดพระคุณผู้พาทั่วฟ้าไกล
ประวัติพุทธศาสนาโดยย่อ โดยเฉพาะพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวัชรยานของทิเบต พระพุทธเจ้าประสูติในอินเดียตอนเหนือ (ชายแดนเนปาลในปัจจุบัน) เมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว พระองค์เป็นโอรสกษัตริย์สุโทธนะ มีพระนามว่าสิทธัตถะพระราชบิดาทรงเตรียมโอรสไว้เพื่อสืบทอดราชสมบัติของ พระองค์ ลักษณะในการประสูติและชีวิตในวัยเด็กนั้นมหัศจรรย์ ไม่ธรรมดา และเป็นที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นแล้วว่าเจ้าชายพระองค์นี้ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ธรรมดาชีวิตในวัยเด็ก และวัยหนุ่ม อยู่กับความสมบูรณ์พูนสุขปราศจากความกังวลใดๆทั้งสิ้น กอบกับพระองค์ทรงมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมากด้วยความรู้ความสามารถชำนาญในศิลปะวิทยาการต่างๆ สม กับการเป็นมหาจักรพรรด์ในอนาคตแต่สิ่งเหล่านั้นไม่อาจปิดบังความสงสัยในความ เป็นแก่นสารของชีวิต ปกติในโลก "ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข" พระองค์จึงได้หนีออกจากพระราชวังเพื่อไปศึกษาหาหนทาง ใช้ชีวิตที่มีค่า มีความหมาย พระองค์ไปศึกษา ปฏิบัติธรรมกับนักปราชญ์ผู้ทรงความรู้ชั้นยอดในยุคนั้น ไม่ว่าเรื่องการทำสมาธิ หรือปรัชญาต่างๆ ด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะหาแก่นแท้ของชีวิต ด้วยสติปัญญาของพระองค์ พระองค์สามารถเรียนรู้ทุกอย่างจากพระอาจารย์จนหมดสิ้นและแตกฉาน แต่ก็ยังไม่ถึงเป้าหมายที่พระองค์พอพระทัย เพราะรู้สึกว่ายังขาดอะไรอยู่ บ้าง ถึงแม้ว่าพระองค์จะปฏิบัติฝึกฝนสู่ปัญญาที่สูงขึ้นด้วยความทุกข์ยากลำบาก อย่างที่สุดต่างๆ นาๆ พระองค์ก็พบว่าวิธีการเหล่านั้นไม่สามารถพาพระองค์หลุดจาก "ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข" ท้ายที่สุดพระองค์ก็ตั้งใจที่จะฝึกฝนปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความพยายามอย่างสูงสุดพระองค์ก็สามารถบรรลุรู้แจ้ง ณ พุทธคยาสิ่งซึ่งพระองค์ท่านได้ค้นพบรู้แจ้งมีความลึกซึ้งยิ่งใหญ่มากจน พระองค์ท่านลังเลใจที่จะสอนคนอื่นต่อ ด้วยกลัวว่าจะไม่มีคนเข้าใจได้เลย แต่ด้วยพระเมตตา อันยิ่งใหญ่ พระองค์ก็ได้ทดลองเริ่มสอน ในเวลาอันรวดเร็วก็สามารถดึงดูดผู้สนใจเข้าเป็นลูกศิษย์ติดตามพระองค์เพื่อ เรียนรู้หนทางแห่งการรู้แจ้งเป็นจำนวนมากและก็มีจำนวนมากเช่นกันที่ปฏิบัติจนรู้แจ้งบรรลุอรหันต์ผล เนื่องด้วยมีผู้คนจำนวนมากที่เข้ามาเป็นศิษย์เพื่อรับคำสอนและวิธีปฏิบัติ จากคนจำนวนมากและมาจากสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน สติปัญญา ภูมิหลัง ที่ต่างกันทำให้พระองค์ทรงสอนแต่ละกลุ่มแต่ละบุคคลต่างกันไปตามสภาพ ภูมิปัญญาของกลุ่มคนหรือบุคคลนั้นๆ โดยให้สอดคล้อง กับภูมิปัญญาและความตั้งใจ
คำสอนของพระพุทธเจ้าในช่วงที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ๆ
1 กลุ่มคำสอนซึ่งถูกจารึกไปเป็นภาษาบาลี อันเป็นพื้นฐานสำคัญของ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งเน้น หนักทาง ด้านวินัย
2 กลุ่มคำสอนของฝ่ายมหายาน ซึ่งถูกจารึกเป็นภาษาสันสกฤต เน้นหนักใน ความเมตตา และห่วงใยผู้ อื่น
3 กลุ่มคำสอนตันตระ อันเป็นพื้นฐานสำคัญของวัชรยานหรือมนตรยานหรือตันตรยาน ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ มีคุณสมบัติพิเศษและสามารถนำไปสู่การรู้แจ้งในเวลาอันสั้น คำสอนในกลุ่มวัชรยานพระพุทธเจ้าได้สอนไว้แก่กลุ่มศิษย์ในแวดวง อันจำกัด แต่พระองค์ท่านก็ได้มีพุทธทำนายว่า คำสอนวัชรยานจะมีการเผยแพร่ในอนาคตกาล ซึ่งจะมีบุคคลรู้แจ้งบรรลุเกิดขึ้นในกาลข้างหน้า สั่งสอนอบรม ฉะนั้นคำสอนวัชรยานจึงไม่ได้มีความเป็นพุทธะน้อยกว่าคำสอนอีก 2 กลุ่ม แม้จะแพร่หลายไม่มากนักในสมัยนั้น
หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพานไปแล้ว ความแตกต่างในการตีความคำสอนและคิดเห็นซึ่งเกิดจากการรับคำสอนซึ่งต่างกันใน รายละเอียดปลีกย่อยตามกลุ่มตามสภาพ จึงเป็นที่มาของความขัดแย้งในปรัชญาแนวความคิด ความขัดแย้งเริ่มมากขึ้นตามเวลาจนทำให้มีนิกายต่างๆเกิด ใหม่ขึ้นมา มีแนวทางการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ตัวอย่าง เช่นในฝ่ายเถรวาทในยุคนั้นแบ่งเป็น18 นิกาย มหายานก็มีการแบ่งเป็นนิกายต่างๆ แบ่งเป็น3สายใหญ่ และเมื่อมหายานเข้าสู่ประเทศจีนก็แบ่งเป็นนิกายต่างๆมากมาย ในแต่ละนิกายก็มีข้อแตกต่างในเชิงปรัชญา ซึ่งในวัชรยานก็เช่นกัน แนวปรัชญาและแนวปฏิบัติหลายอย่าง เริ่มต้นเกิดขึ้นจากบุคคลเพียงคนเดียว เท่านั้น
ในยุคหลังต่อมาคำสอนที่แตกต่างกันเหล่านี้ได้มีการเผยแพร่ออกไปทั่วอินเดีย และต่างประเทศที่อิทธิพลของพุทธศาสนาแพร่ไปถึงเช่นอาเซียกลาง อาเซียตะวันออก อาเซียใต้ ไปไกลสุดถึงอินโดนีเซียบางนิกายก็สูญหายไปไม่เหลือ บางนิกายก็เข้ารวมกับนิกายอื่นเกิดเป็นนิกาย ใหม่ขึ้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่13การมาเยือนของศาสนาอิสลามและการเปลี่ยนแปลง ในเชิงการเมืองในคาบสมุทรอินเดียทำให้พุทธธรรมมีอันต้องหายไปจากประเทศผู้ ให้กำเนิด กลับกลายเป็น ประเทศอื่นๆที่ได้รับคำสอนเก็บรักษาไว้ เช่นเถรวาทเก็บรักษาไว้ในลังกา พม่า ไทย กัมพูชา มหายานเก็บรักษาใน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีประเทศในกลุ่มอินโดจีน วัชรยานส่วนใหญ่เก็บไว้ในประเทศทิเบตและแถบหิมาลัย ประเทศทิเบตถือว่าเป็นโชคดี 2 ชั้น ทิเบตถือว่าเป็นหนึ่ง ในไม่กี่ประประเทศที่มีการปฏิบัติคำสอนวัชรยานอยู่อย่างสมบูรณ์แบบและทิเบต เป็นประเทศเดียวที่มีการเก็บรักษาคำสอนทั้งหมดอย่างสมบูรณ์(ทั้งหมดคือทั้ง เถรวาทมหายานและวัชรยาน)
จากช่วงศตวรรษที่ 8 เป็นต้นมาคำสอนของพุทธศาสนาได้มีการเผยแพร่และถ่ายทอดจาก อาจารย์สู่ศิษย์ในนิกายต่างๆ ผู้ปฏิบัติตามคำสอนเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นผู้มีความรู้แจ้งในเชิงวิชาการปรัชญา ยังเป็นผู้ปฏิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริงสามารถปฏิบัติตามคำ สอนอย่างถูกต้องและยังสามารถ เผยแพร่คำสอนออกไปได้อย่างไม่ผิดพลาดนิกายใหญ่ที่เกิดขึ้น อาทิ ณิงมาปะ กากจูปะ สักเจียปะและเกลุกปะ พุทธศาสนาในทิเบตเริ่มต้นจากในศตวรรษที่ 8 ณิงมาปะ โดยอาจารย์ จากอินเดียเช่นวิมลมิตร คุรุปัทมะสมภพหรือชาวทิเบตเรียกว่ากูรูรินโปเช่ได้ถ่าย ทอดสู่อาจารย์ชาวทิเบตเช่น ลองเชนปะ จิกเมลิงปะ จัมยังเฉนเซวังโป ฯลฯ เป็นต้น สามนิกายต่อมาได้เผยแพร่ เข้าสู่ทิเบตช่วงหลังศตวรรษที่ 10 ซึ่งก็เช่นเดียวกับศาสนาพุทธในที่ต่างๆซึ่งมีการปรับตัวให้เข้า กับวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละประเทศ 4 นิกายในทิเบตก็เหมือนกัน มีการปรับตัวเข้ากับสภาพประวัติศาสตร์ ภูมิประเทศและการเมือง
คำสอนในทิเบตที่เก็บรักษาไว้ถูกแบ่ง ออกเป็น2 กลุ่ม คือ กันจูร์ ซึ่งมีอยู่มากกว่า 100 ธรรมบทซึ่งเป็นคำสอนดั้งเดิมจากพุทธกาล แบ่งเป็นพระวินัย พระสูตร(เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิ)พระอภิธรรม(เกี่ยวข้องกับปรัชญา) คำสอนอีกกลุ่ม คือคำสอนจากคำวิจารณ์หรือคำอธิบายจากอาจารย์ในยุคต่างๆ กลุ่มนี้เก็บอยู่ในกลุ่มของ ตันจูร์ มีทั้งหมด 200 ธรรมบท กันจูร์กับตันจูร์ แต่เดิมแปลจากภาษาสันสกฤตเกือบทั้งหมด ขณะนี้ถูก เก็บรักษาไว้เกือบสมบูรณ์นอกจากนี้ยังมีคำสอนของเถรวาท มหายาน และวัชรยานซึ่งเขียนขึ้น โดยอาจารย์ชาวทิเบตเอง คำสอนที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีจำนวนมากที่สามารถพบได้ในพุทธ ศาสนาแบบทิเบต สามารถสรุปอยู่ในอริยะสัจจ์ที่พระพุทธเจ้าได้ สอนไว้หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ไม่นาน ข้อแรกของอริยะสัจสี่ พูดถึงความเป็นอยู่ที่มีอยู่ในโลกไม่สามารถหลุดพ้นจาก ความทุกข์ ไม่สามารถที่จะมีความสุขอย่างถาวรได้ความสุขทุกอย่างที่มีอยู่ก็อยู่ชั่วขณะ เท่านั้น สุดท้ายก็ต้องหลีกทางให้กับความทุกข์ที่ต้องย่างเข้ามาเหตุผลอธิบายอยู่ใน ข้อที่2ของอริยะสัจสี่ ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า การกระทำทุกอย่าง ไม่ว่าการกระทำ คำพูดหรือความคิดทุกอย่างจะให้ผล จากการกระทำเหล่านั้น ในกาลข้างหน้า ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติหน้าต่อไปซึ่งการเกิดใหม่ก็เป็นผล จากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ลักษณะของการเกิดใหม่หรือชีวิตนี้ก็เป็นผลจากการกระทำ ต่างๆในชีวิตที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องของความตั้งใจ หรือแรงดลใจต่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง นี่คือกฎแห่งกรรม ซึ่งจะอธิบายได้ว่า ทำไมบางคนยากจนตลอดชีวิตแม้ได้พยายามทำทุกอย่าง เพื่อความร่ำรวย บางคนก็มีทุกสิ่งทุกอย่างพร้อม โดยที่เจ้าตัวเกือบจะไม่ต้องทำอะไรเลย จากอริยะสัจสี่ข้อที่ 2 นี้ก็ได้อธิบายและชี้ให้เห็นถึงพลังที่อยู่เบื้องหลังสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นอารมณ์ใน ทางลบ เช่นความโลภ โกรธ หลง หยิ่ง ริษยา อวิชชา โดยเฉพาะอวิชชาซึ่งถือเป็นรากของสิ่ง เหล่านี้ทั้งหมด อวิชชาไม่ได้เกี่ยวข้องกับยาเพียงอย่างเดียว ยังเป็นพื้นฐานของการมองโลก ทำให้เรายึดติดตัวเองว่าตัวเราและโลกภายนอกทั้งหมดเป็นแกนสารจริงๆและ ยั่งยืนไม่มีทาง สลาย ไม่มีการสิ้นสุดแห่งการกระทำของเรา ทำให้เราต้องเกิดใหม่อย่างต่อเนื่องในวัฏฏะสงสาร นี้ ถ้าเราสามารถหยุดการกระทำที่ไม่รู้อันเกิดจากการกระทำของอวิชชา ถ้าเราสามารถหยุด อวิชชาได้วัฏฏะจักรแห่งการเกิดก็จะถูกทำลายลงได้ ซึ่งก็อธิบายอยู่ในอริยะสัจ สี่ข้อที่ 3 ซึ่งพูด ถึงการหยุดของทุกข์การเป็นอิสระจาก "ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข" อริยะสัจ สี่ ข้อที่ 4 ได้อธิบาย ถึงวิธีการที่จะปฏิบัติให้สำเร็จในการหลุดพ้นได้อย่างไร ซึ่งหลักใหญ่ๆจะต้องมีการสะสมการกระ ที่เป็นกุศล เช่น การให้ความเคารพถวายให้แก่พุทธะ ธรรมะ สังฆะ ในการปฏิบัติความเมตตา สงเคราะห์ต่างๆ และอีกวิธีหนึ่งโดยการปฏิบัติสมาธิเพื่อที่จะสามารถขุดทำลายทิ้งอวิชชา ซึ่ง เป็นรากแห่งทุกข์ผู้ที่ปฏิบัติวิธีการนี้เพื่อที่จะหลุดพ้นด้วยตนเองสามารถ ที่จะปฏิบัติจนบรรลุรู้แจ้ง สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์จึงเป็นผู้ที่สามารถชนะอารมณ์ในทางลบได้สมบูรณ์แต่ก็ยังไม่ ไม่เป็นการบรรลุรู้แจ้งอย่างสมบูรณ์ เฉพาะสำหรับผู้มีอุดมการและตั้งปณิธานที่จะปฏิบัติเพื่อการ แจ้งของผู้อื่นเท่านั้นที่จะบรรลุสู่พุทธภูมิได้ ผู้ปฏิบัติเหล่านี้ ซึ่งเดินสายมหายานยึดเอาความเมตตาเป็นหลักซึ่งเราเรียกว่าพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่สามารถปฏิบัติตามคำสอนของวัชระ ยาน สามารถบรรลุรู้แจ้งในเวลาอันสั้น
ในพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้จัดตั้งองค์กรพระภิกษุ ภิกษุณีขึ้น เพื่อเป็นแกนนำในการเผยแพร่คำสอน แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ยกเว้นฆราวาสทั้งชาย หญิง ที่มีจิตปฏิบัติอย่างจริงจังเรื่องนี้ สามารถเห็นได้ในทิเบตซึ่งมีคณะสงฆ์อันเข็มแข็งยิ่งใหญ่ แต่ก็มีกลุ่มฆราวาสที่ใช้ชีวิตปกติธรรมดา และได้ปฏิบัติตามคำสอนอย่างเข้มแข็งจนบรรลุมรรคผลเป็น จำนวนมาก โดยที่ไม่ได้เป็นพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติและบรรลุใน สายณิงมาปะมีทั้งที่เป็นพระสงฆ์และโยคีฆราวาส การได้เข้าสู่คณะสงฆ์เป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะนำไปสู่การรุ้แจ้งได้ในเชิง สมาธิ ปัญญา นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าสู่ คณะสงฆ์ได้ แต่มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติตามคำสอนอย่างจริงจัง
อัลเบิร์ตไอสไตร์ได้กล่าวไว้ ว่า คำสอนของพุทธศาสนาสามารถปรับเข้าได้กับยุคศตวรรษที่ 20 นี้ได้เป็นอย่างดีในปัจจุบัน ฟิสิกซ์สมัยใหม่ได้ข้อสรุปต่างๆตรงกับคำสอนที่พุทธศาสนาได้อธิบายไว้ ตั้งแต่ 2500กว่าปี ที่แล้ว ปัจจุบันในแถบเอเชีย เนื่องจากวัตถุนิยมเฟื่องฟู ทำให้การปฏิบัติสมาธิจิตย่อหย่อนลง ตรงกันข้ามกับประเทศในแถบตะวันตก ที่มีผู้หันมาศึกษาและปฏิบัติพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาทิเบตได้ถูกคุกคามอย่างมากจากการเมืองได้มีอาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ต่างๆได้ลี้ภัยไปยังอินเดีย อาจารย์เหล่านี้นอกจากได้รับถ่ายทอดคำสอนอย่างสมบูรณ์มาแล้ว ยังได้ปฏิบัติจนรู้แจ้งในขณะเดี่ยวกันก็มีชาวต่างประเทศในโลกตะวันตกมาเยือน อินเดียและได้พบอาจารย์หรือพระลามะเหล่านั้นเกิดความสนใจเกิดความศรัทธา อย่างจริงจังและได้เชื้อเชิญ อาจารย์เหล่านั้นไปเผยแพร่คำสอนในโลกตะวันตก ซึ่งองค์กูรูรินโปเช่ได้เคยกล่าวไว้ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะวัชรยานเป็นคำสอนที่มีพลังมากและให้ผลต่อผู้ฝึก ปฏิบัติทุกๆคนได้อย่างชัดเจน ในยุคที่ผู้คนมีอารมณ์รุนแรงในกลียุค พุทธศาสนาวัชรยานจะทรงพลังอย่างมาก มีผลให้อารมณ์ที่รุนแรงสงบลงได้ คำสอนวัชรยานเป็นคำสอนที่มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถปรับสภาพให้เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ทุกรูปแบบที่มนุษย์ในโลกครุ่น เคย โดยที่ไม่ทำให้คำสอนแท้ๆต้องผิดเพี้ยนไป ฉะนั้นคำสอนพุทธศาสนาวัชรยานกำลังเผยแพร่ไปทั่วโลก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุกศาสนาใหญ่ๆที่มีอายุยาวนาน ได้มีการแบ่งแยกนิกายย่อยๆทั้งสิ้น กาลเวลา ความเปลี่ยนแปรงของสังคมโลก จำนวนผู้เข้าร่วมจำนวนมากหลากหลายภูมิภาคหลาก ความเชื่อหลากความคิดหลากความเป็นอยู่ศาสนาทุกศาสนาในปัจจุบันได้ห่างไกล แปรเปลี่ยนไปจากครั้งแรกกำเนิด ศาสนาที่ไม่แปรเปลี่ยนก็ไม่เจริญไม่แพร่ขยายและต้องสูญสลายไป พุทธศาสนาก็เช่นกันความเจริญแพร่กว้างไพศาล ทำให้พุทธศาสนาต้องแปรเปลี่ยนไปบ้างแต่ อย่างไรก็ตามชาวพุทธทั้งปวงแม้ต่างนิกายก็ถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกันประกอบ ศาสนกิจร่วมกัน ได้ นับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน แม้บางคนจะนับถือสิ่งอื่นด้วย เช่นไหว้เจ้า ไหว้เทวดา หรือ ภูติผี ก็ยังคงถือเป็นชาวพุทธด้วยกัน ตราบใดที่ยังคงยอมรับพระไตรปิฎกร่วมกันก็ไม่ถือว่าแตกแยกกัน พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า ผู้คนในโลกเปรียบดังเม็ดทรายในมหาคงคา ผู้รู้แจ้งเปรียบดังเม็ดทรายในมหาคงคาที่อยู่บนฝ่ามือ แม้แต่เม็ดทรายบนฝ่ามือก็ยังคงต่างกัน ทั้งรูปลักษณ์ ขนาดและสีสัน
อ้างอิง หนังสือ The Words of My Perfect Teacher
หนังสือคณะสงฆ์จีนนิกาย
หนังสือของเสถียร โพธินันทะ
พุทธศาสนามหายาน
พระพุทธเจ้า ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการ ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้”(มหาปรินิพพานสูตร 10/141) ทำให้เกิดมีปัญหาว่าแค่ไหนเรียกว่าเล็กน้อยเป็นเหตุให้ภิกษุบางรูปไม่เห็น ด้วยและไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับหลายสังคายนา มีกลุ่มแยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการแตกแยกทางความคิดและนิกายแต่ไม่ควรถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด ประเด็นหลักซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งมหายานที่แท้จริงมิใช่อยู่ที่สิกขาบทที่พระ พุทธองค์ทรงอนุญาต แต่อยู่ที่การพระอภิธรรม การตีความพระอภิธรรมความหลุดพ้นนี้เองเป็นประเด็นหลักที่เป็นบ่อเกิด ของมหายาน ภิกษุสงฆ์นักปราชญ์กลุ่มหนึ่งซึ่งมีแนวคิดว่า การหลุดพ้นเพื่อเป็นพระอรหันต์ด้วยการปฏิบัติคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ ที่สุดตามที่ตนเองได้รับคำสอนมาจากพระพุทธเจ้าที่สอนตนมา ท่านเชื่อว่าที่สุดของสิ่งที่พระศาสดาให้มานอกจากคำสอนแล้วยังมีคุณลักษณ์ ของพระองค์ คุณสมบัติที่ทำให้พระองค์ท่านเป็นพระพุทธเจ้านี่เองจึงเป็นที่สุด ครูที่เก่งสามารถสอนให้ศิษย์บรรลุผลสำเร็จได้ แต่ครูผู้สูงส่งนอกจากสั่งสอนศิษย์ให้ได้บรรลุผลสำเร็จแล้ว ท่านเองยังมีคุณลักษณ์ให้ศิษย์ได้ปฏิบัติตามเพื่อความเป็นมนุษย์ซึ่งสมบูรณ์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเป็นสุดยอดครู การที่เหล่าศิษย์เพียงต้องการคำสอนของพระองค์ท่านเพียงอย่างเดียวแม้บรรลุสุขที่สุดแล้ว แต่ก็ยังสูญเสียบรมสุขสุดยอดซึ่งมาจากคุณลักษณ์ประจำพระองค์ คุณสมบัติของสิ่งซึ่งทำให้พระองค์เป็นครูที่สุดยอดที่สุดในโลก ประเด็นนี้เองเป็นที่มาแห่งมหายาน
ไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดว่า พุทธศาสนามหายานกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัด คือพระเจ้ากนิษกะ มหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกองค์แรกของมหายาน พระองค์ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานลงมั่นคงในราชอาณาจักร และทรงส่งพระธรรมทูตออกเผยแพร่ไปยังนานาประเทศ คณาจารย์ผู้วางรากฐานของมหายานอย่าง ชัดเจน ได้แก่ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอารยะเทวะ พระวสุพันธุ พระธรรมกีรติ ศานตรักษิตะ โดย เฉพาะคุรุนาคารชุน(ราว ค.ศ.1) คณาจารย์องค์สำคัญที่สุดผู้ทำให้มหายานทรงอิทธิพลและ รุ่งเรืองที่สุดของพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่6-10 มหายานมิได้ปฏิเสธพระไตรปิฎก หากแต่ถือว่ายังไม่พอเนื่องจากเกิดสำนึกร่วมขึ้นมาว่านามและรูปของพระ พุทธเจ้าเป็นโลกุตระไม่อาจดับสูญ สิ่งที่ดับสูญเป็นเพียงภาพมายา ธรรมกายอันเป็นธาตุพุทธะยังคงอยู่ต่อไป สรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดมาพร้อมธาตุพุทธะหากแต่กิเลสอวิชชาได้บดบังธาตุพุทธะ จึงไม่ปรากฏ ด้วยมุมมองที่ว่าสรรพสัตว์เป็นพุทธะสรรพสัตว์ทั้งปวงปารถนาที่จะไม่เกิดมาพบ กับความทุกข์ ที่ต้องเกิดเพราะกรรมที่ได้สะสมไว้มนุษย์ผู้โชคดี มีภูมิความรู้ในการรู้แจ้งต้องเมตตาส่งเสริม ให้สรรพสัตว์ที่โชคดีน้อยกว่าให้ไปสู่ความรู้แจ้ง ผู้ที่กระทำการเช่นนั้น คือพระโพธิสัตว์ นั่นคือ ชาวพุทธมหายานต้องเดินแนวทางโพธิสัตว์มรรค เพิ่มเติมจากการเดินในแนวอริยะมรรคเพียง อย่างเดียว คำสอนของของพระโพธิสัตว์ถือเป็นพระไตรปิฎกที่ 2ที่ต้องปฏิบัติด้วยการยอมรับ หรือศรัทธาต่อ พระโพธิสัตว์ไม่เท่ากัน ความสำนึกและการแสดงออกจึงต่างกัน ทำให้มหายานแตกเป็นนิกายต่างๆมากมายในอินเดียมีประมาณ 4 นิกาย
1นิกายศูนยวาทหรือมาธยมิก ผู้ก่อ ตั้งคือ คุรุนาคารชุน
2นิกายวิชญานวาทหรือโยคาจาร ผู้ก่อตั้ง คือ ท่านไมตรีนาถ
3นิกายจิต อมตวาท
4นิกายพุทธตันตระหรือมนตรยานซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นวัชระยาน
ในประเทศจีน ระยะเวลาอันยาวนานกว่าทำให้มีนิกายแตกแขนงออกไปมากมาย เช่น นิกายสัทธรรมปุณทริก (เทียนไท้จง) นิกายเซ็นหรือฌาณ(เสี่ยมจง) นิกายอวตังสกะ(ฮั่วเงี่ยมจง) นิกายสุขาวดี(เจ่ง โท้วจง) นิกายตรีศาสตร์(ซาหลุ่งจง) นิกายธรรมลักษณะ(ฮวบเซี่ยงจง) นิกายวินัย(หลุกจง) นิกายมนตรยาน(มิกจง) แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าเกิดการแตกแยกศาสนา ด้วยว่าทุกนิกาย ก็คือพุทธศาสนามหายาน
ลัทธิมหายานถืออุดมคติ 3 ประการ คือ
1หลักมหาปัญญา ในหลักการข้อนี้ ฝ่ายมหายานได้อธิบายหลักอนัตตาซึ่งเป็นคุณลักษณะ พิเศษในพุทธศาสนาออกไปอย่างกว้างขวางลึกซึ้งมากพิสดารยิ่งกว่าในฝ่ายเถรวาท มหายาน เรียกว่า ศูนย์ตา แทนคำว่า อนัตตา ในส่วนปฏิบัติของบุคคลทางฝ่ายมหายาน ถือว่าบุคคลจะ พ้นทุกข์ได้ ก็ด้วยการเข้าถึงศูนยตา ซึ่งมี 2 ชั้น คือ บุคคลศูนยตาและธรรมศูนยตา บุคคล ศูนยตาได้แก่การละอัสมิมานะซึ่งทำให้บุคคลบรรลุอรหันต์ส่วนธรรมศูนยตา ได้แก่การละ ความยึดถือแม้ในพระนิพพานซึ่งเป็นภูมิของพระโพธิสัตว์ชั้นสูง
2หลักมหากรุณา ได้แก่การตั้งโพธิจิตมุ่งพุทธภูมิ ไม่มุ่งเพียงอรหันต์ภูมิ ในทัศนะมหายานเห็นว่าอรหันต์ภูมิช่วยคนได้น้อย เพราะฉะนั้นจึงควรมุ่งพุทธภูมิซึ่งในขณะที่ยังมิได้บรรลุต้องสร้างบารมี เพื่อช่วยสัตว์ ดังนั้น ทางฝ่ายมหายานจึงย่อทศบารมีลงเหลือ 6 คือ
2.1ทานปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องสละทรัพย์ อวัยวะและชีวิต เพื่อสัตว์โลกได้โดยไม่อาลัย
2.2 ศีลปารมิตา พระโพธิสัตว์ต้องรักษาศีลอันประกอบ ด้วยอินทรีย์สังวรศีล กุศลสังคหศีลข้อนี้ได้แก่การทำความดีสงเคราะห์สัตว์ทุกกรณี สัตวสังคหศีลคือการช่วยให้พ้นทุกข์
2.3 กษานติปารมิตา พระโพธิสัตว์ต้องสามารถอดทนต่อสิ่งกดดันเพื่อโปรดสัตว์ได้
2.4 วิริยปารมิตา พระโพธิสัตว์ไม่ย่อท้อต่อพุทธภูมิ ไม่รู้สึกเหนื่อยหน่ายระอาในการช่วยสัตว์
2.5 ธยานปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องสำเร็จในฌานสมาบัติทุกชั้น มีจิตไม่คลอนแคลน เพราะเหตุอารมณ์
2.6 ปรัชญาปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องทำให้แจ้งในปุคคลศูนยตาและ ธรรมศูนยตา
3หลักมหาอุปาย คือพระโพธิสัตว์จะต้องประกอบด้วยกุศโลบายนานัปการ ในการช่วยเหลือ ปวงสัตว์ ต้องประกอบด้วยไหวพริบปฏิภาณในการเข้าถึงอธิมุติของปวงสัตว์เปรียบเหมือน นายแพทย์ผู้ฉลาดรู้จักวางยาให้ถูกโรคอาศัยข้อนี้แหละทางฝ่ายมหายานจึงได้ เพิ่มเติมคติ ธรรมและพิธีการซึ่งไม่เคยมีในฝ่ายเถรวาทเข้ามามากมายโดยถือว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นเพียงอุบาย ชักจูงให้ผู้เขลาโน้มเอียงเข้ามาสู่สัจธรรมในเบื้องปลายเท่านั้น คุรุนาคารชุน ได้สถาปนาความ มั่นคงฝ่ายมหายานด้วยแนวคิดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วย ปรัชญาปารามิตาหฤทัยสูตร พระสูตรสั้นๆแต่มีสาระสำคัญอันเป็นบ่อเกิดแห่งความมั่นคงของ มหายาน ในคัมภีร์มาธยมิกศาสตร์ ท่านคุรุนาคารชุนได้เริ่มปณามคาถา ในต้นปกรณ์ว่า “ไม่มีความเกิดขึ้น ไม่มีความดับ ไม่มีความขาดสูญ ไม่มีความเที่ยงแท้ ไม่มีอรรถแต่อย่าง เดียว ไม่มีอรรถนานาประการ ไม่มีการมา ไม่มีการไป ท่านใดกล่าวไว้ เป็นปฏิจจสมุปบาท ธรรม ท่านผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า ข้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ดับเสียได้ซึ่ง ปปัญจธรรมเป็นเลิศยิ่งกว่าวาทะทั้งหลาย”
พุทธศาสนามหายานในประเทศไทย
เมื่อประมาณ พ.ศ.290 พุทธศาสนาได้แพร่หลายจากประเทศอินเดียเข้าสู่แค้วนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีชนชาติ ขอม มอญ ละว้า และไทย
ในราว พ.ศ.1200เรียกว่าสมัยศรีวิชัยพุทธศาสนา มหายานได้แพร่หลายจากเกาะสุมาตราเข้า สู่เมืองไชยาทางภาคใต้แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ได้ความจากประวัติศาสตร์และวัตถุที่ขุดได้ใน เมืองไชยา
ในราว พ.ศ. 1400 เรียกว่า สมัยลพบุรี พระพุทธศาสนานิกายมหายานหรือที่เรียกว่า อาจาริยวาทได้แพร่ขยายเข้าสู่เมืองลพบุรี ทั้งนี้ได้ความจากศิลาจารึกที่ขุดได้ในเมืองลพบุรี
ในราว พ.ศ.1600 เรียกว่า สมัยเชียงแสนพะพุทธศาสนานิกายเถรวาทได้แพร่หลายเข้าสู่ดิน แดนภาคเหนือของประเทศไทย
ในราว พ.ศ.1800 เรียกว่าสมัยสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้รับเอาพุทธศาสนาเถรวาทจากประเทศลังกาเข้าสู่แคว้นสุโขทัยเรียกว่าพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาประเทศไทยก็นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติไทย ตลอด เรื่อยมาพระปฐมเจดีย์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปนั้น ตามหลักฐานระบุว่า สร้างโดยพระธรรมทูตของพระ เจ้าอโศกมหาราชแต่หลักฐานและวัตถุโบราณที่ขุดพบส่วนใหญ่จะบ่งบอกถึงความเคยรุ่งเรือง ของมหายานในบริเวณนั้นดังนั้นเป็นที่สันนิธานได้ว่าทั้งเถรวาทและมหายานได้ รุ่งเรืองใน ดินแดนแถบนี้มาก่อน ความสัมพันธ์ของชาวไทยและจีนมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมา จนถึงสมัยอยุธยาได้มีชาวจีนอพยพเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารมากขึ้นแต่ยังไม่ปรากฏว่ามีวัดทางฝ่ายมหายาน และพระ สงฆ์เกิดขึ้นแม้ว่าชาวจีนส่วนใหญ่จะนับถือพุทธศาสนามหายานและนับถือลัทธิขงจื้อควบคู่ กันเข้าใจว่าชาวจีนในสมัยนั้นได้ใช้ศาลเจ้าประกอบพิธีตามลัทธิขงจื้อและใช้วัดไทยในการ ประกอบพิธีทางพุทธศาสนาแม้ว่าจะเป็นคนละนิกายกัน ในสมัยธนบุรีชาวญวนซึ่งเป็นพุทธมามกฝ่ายมหายานเช่นเดียวกับจีน และมีวัฒนธรรมคล้ายกันมากได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิ สมภาร ญวนได้สร้างวัดฝ่ายมหายานขึ้นเป็นวัดแรกบนฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรีและ เมื่อ สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวญวนและจีนได้สร้างวัดฝ่ายมหายานขึ้นอีกหลายวัดทั้งในกรุงและ นอกกรุง วัดจีนเพิ่งจะเป็นตัวเป็นตนในสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่5นี้เอง สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชทานสมณศักดิ์สงฆ็นิกายมหานยานเป็นครั้งแรก สมณะศักดิ์ จีนรูปแรกคือ พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร(สกเห็ง) สมณะศักดิ์ญวนรูปแรกคือ พระครูคณา นัมสมณาจารย์ (องฮึง)อารามฝ่ายมหายานจีนแห่งแรก คือวัดย่งฮกยี่ ซี่งต่อมาได้รับ พระราชทานนามว่า วัดบำเพ็ญจีนพรต ต่อมาได้มีการสร้างวัดในฝ่ายมหายานที่สำคัญขึ้นอีก หลายวัด ดังเช่นวัดมังกรกมลาวาสวัดจีนประชาสโมสรสำนักสงฆ์อีกหลายแห่งในสมัยรัชกาล ที่ 5 และมหายานฝ่ายจีนนิกายรุ่งเรืองสูงสุดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ในยุคของเจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายรูปที่ 6 พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ(โพธิ์แจ้งมหาเถระ)ได้มี การสร้างวัดอันเป็น ศูนย์กลางการปฏิบัติที่ สำคัญขึ้นอีกหลายแห่ง เช่นวัดโพธิ์เย็น วัดเทพพุทธาราม วัดโพธิทัตตาราม วัดโพธิ์แมนคุณารามศูนย์กลางคณะสงฆ็จีนแห่งประเทศไทยเป็นต้นพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในประเทศ ไทยมีอยู่สองนิกาย คือ อานัมนิกาย(ณวน)และจีนนิกาย ธรรมปฏิบัติของสงฆ์มหายานโดย เฉพาะสงฆ์จีนถือปฏิบัติในหลักนิกายลุกจง(นิกายวินัย) นิกายเซียมจง(นิกายวิปัสสนาหรือนิกายเซ็น)ควบกับนิกายเหี่ยนจง(นิกายเปิด)ซึ่งปฏิบัติทั่วไปในวัดจีนมหายานนิกายและมีเฉพาะสังฆารามเดียวเท่านั้นที่มีการเพิ่มปฏิบัติ ในหลักนิกาย มิกจง(นิกายระหัสยานนิกายหนึ่งของวัชระยานทิเบต)เป็นพิเศษคือวัดโพธิ์เย็น ตลาดลูกแก จังหวัดกาญจนบุรีในยุคนี้ได้มีการแปลพระปาฏิโมกข์ฝ่ายมหายานนิกายวินัยซึ่ง ถือเป็น ปาฏิโมกข์วินัยที่เคร่งครัดที่สุดเพื่อเป็นหลักปฏิบัติควบคู่กับพระไตรปิฎก และโพธิสัตว์สิกขา ของพระสงฆ์มหายานจีนนิกายในที่นี้จะขอกล่าวถึงนิกายหลักที่อยู่ในพุทธศาสนา มหายาน ในคณะสงฆ์จีนแห่งประเทศไทย
นิกายฌานหรือเซ็น(เสี่ยมจง)
ในสมัยพุทธกาลท่ามกลางประชุมบริษัท 4 พระศาสดาได้ชูดอกหนึ่ง มิได้ตรัสเทศนาว่าอย่างไร ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย มีแต่พระมหากัสสปเถระเท่านั้นที่ยิ้มน้อยๆอยู่ พระศาสดา จึงตรัสว่า "ดูก่อน กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุครรภ์อันถูกต้องและนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะได้มอบไว้ให้แก่เธอแล้ว" นิกายนี้จึงนับถือพระมหากัสสปเถระว่าเป็นปฐมาจารย์และถือว่าเป็นนิกายวิปัสสนาโดยเฉพาะ ไม่ต้องอาศัยหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆ แต่ชี้ตรงไปยังจุดของจิตใจ ในอินเดียได้สืบทอดปรมาจารย์มา 28 องค์ จนในราวพุทธศตวรรษที่ 10 ท่านโพธิธรรม(ตั๊กมอโจวซือ)ได้นำนิกายนี้เข้าสู่ประเทศจีนและถือว่าท่านเป็น ปฐมาจารย์องค์แรกของนิกายในประเทศจีน และได้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ปรมาจารย์องค์สำคัญ และมีชื่อเสียงเลืองลือมากอีกท่านหนึ่งคือ ปรมาจารย์องค์ที่ 6 ท่านฮุ่ยเล้งหรือเวยหล่าง ในยุคราชวงศ์ถัง ด้วยโศลกของท่านที่ให้ไว้หลังได้พบโศลกศิษย์อาวุโสที่เขียนไว้
"กายนี้อุปมาเหมือนต้นโพธิ์ ใจนี้อุปมาเหมือนกระจกเงา
จงหมั่นเช็ดถูมันอยู่ทุกๆเวลา อย่าให้ฝุ่นละอองจับคลุมได้"
ท่านได้ต่อไว้ว่า
"ตันโพธิ์นี้เดิมมิใช่เป็นต้นโพธิ์ ไม่มีกระจกเงาอันใสบริสุทธิ์ด้วย
แต่เดิมไม่มีอะไรสักอย่าง แล้วฝุ่นละอองจะจับคลุมที่ตรงไหน"
นิกายเซ็นได้สอนว่า สรรพสัตว์มีพุทธภาวะหรือธรรมกายรุ่งเรืองสุกใสอยู่ด้วยกันทุกๆคน คำพูดหรือตัวหนังสือหาเพียงพอที่จะอธิบายถึงสัจจะภาวะนั้นไม่ เพราะฉะนั้น บางคราวจำเป็นต้องอาศัยปริศนาธรรมและคำพูดที่แทงเข้าไปสู่หัวใจโดยตรงเพื่อเปิดทางออกการพุทธภาวะนั้น นอกจากปริศนาธรรมในครั้งสำคัญแล้ว การปฏิบัติธรรม การศึกษาค้นคว้าก็ถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องปฏิบัติ ด้วยว่าพื้นภูมิของแต่ละผู้คนสูงต่ำต่างกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยพระธรรมและการปฏิบัติ มาเสริมสร้างเพื่อรอเวลาการส่องประกายออกของจิตประภัสสร ดังที่พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรโพธิ์แจ้งกล่าว ไว้ว่า "ซี้ก่าวฮวยจิ่วคุย" เมื่อถึงเวลาดอกไม้ก็บาน ฉะนั้นก่อนถึงเวลา การบำรุงรักษาต้นเพื่อรอดอกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องกระทำ ถ้าต้นไม้เหี่ยวเฉาตายก่อนจะมีดอกได้อย่างไร
นิกายวินัย(หลุกจง)
นิกายนี้แทบจะไม่แตกต่างกันจากเถรวาทเลย การปฏิบัติจะเหมือนกันเป็นส่วนมาก จะมีแตกต่างกันบ้างก็ด้วยเรื่องแนวคิคและปรัชญา โดยเพิ่มปรัชญาของมหายานและโพธิสัตว์มรรคเข้ามา ส่วนการปฏิบัติพระธรรมวินัยเหมือนกันเกือบร้อยเปอร์เซ็น
นิกายมนตรยาน(มิกจง)
นิกายมนตรยาน หรือวัชระยาน ได้แบ่งเป็น 2 สายที่สืบทอดรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน สายเข้าสู่ ประเทศจีนและสายเข้าสู่ประเทศทิเบต สายเข้าสู่ประเทศจีนโดยศิษย์ของท่านคุรุนาคารชุน ชื่อนาคโพธิได้จาริกสู่เกาะสิงหลและได้ถ่ายทอดให้ท่านศุภกรสิงหะและท่าน วัชระโพธิ ท่าน ศุภกรสิงหะได้นำเข้าสู่ประเทศจีนในสมัยพระเจ้าถังเฮี่ยงจง ราวพุทธศตวรรษที่12 และท่าน วัชระโพธิก็ได้นำนิกายเข้าสู่ประเทศจีนเช่นกันพร้อมกับศิษย์ชื่ออโมฆวัชระ ศิษย์ของท่าน อโมฆวัชระชื่อ อิกเหงได้ตั้งวัดแห่งนิกายมนตรยานขึ้นในนครเชียงอาน ชื่อวัดแชเล่งยี่ วัดนี้เป็น ต้นกำเนิดของนิกายมนตรยานของญี่ปุ่นซึ่งรุ่งเรืองมาจนถึงสมัยปัจจุบัน มนตรยานของจีนและ ของทิเบตโดยพื้นฐานไม่ได้แตกต่างกันมากนั้น แต่ทางของทิเบตซึ่งถูกเรียกชื่อว่า วัชระยาน จะลึกซึ้งพิสดารกว่า ด้วยว่ามนตรยานได้เข้าสู่ทิเบตโดยพระอาจาย์ผุ้ทรงคุณมากมายและโดย ตรง เช่นจากมหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มหาวิทยาลัยโอทันตบุรี และอยู่ในยุคที่มนตรยานในอินเดียเจริญสูงสุดโดยพระอาจารย์ เหล่านี้ เช่น ท่านศานตรักษิต ท่านคุรุปัทมสมภพ ท่านกมลศีลา ท่านอติษะ ท่านติโลปะ ท่านนะโรปะ ฯลฯ (หลักการและคำสอน ให้ดูในลิงค์ของวัชระยานและคำสอนวัชระยาน)
มหายานในประเทศไทยโดยเฉพาะคณะสงฆ์จีน ในยุดเริ่มแรกสมัยท่านเจ้าคณะใหญ่รูปแรกผู้ สถาปนาวัดเล่งเน่ยยี่ท่านปฺฏิบัติวิปัสสนาเซ็นเป็นหลักและเรื่อยมาจนถึงเจ้า คณะใหญ่รูปที่ 6 ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง โดยพื้นฐานเดิมท่านได้คุ้นเคย กับมนตรยานเป็นอย่างดีเนื่องด้วยบรรพบุรุษท่านเป็นขุนนางในราชวงค์แมนจูซึ่ง นับถือพุทธตันตระยานสายทิเบตเป็นหลัก แต่ด้วยท่านได้บรรพชาในคณะสงฆ์ในประเทศไทยซึ่งปฏิบัติวิปัสสนาเซ็นเป็นหลักท่านจึงปฏิบัติและเชี่ยวชาญในวิปัสสนาเซ็นอย่างดี และต่อมาได้รับการสถาปนาให้เป็นวัชราจารย์ณิงมา-กาจู แห่งริโวเช แคว้นคาม ทิเบตตะวันออก จากท่านวัชราจารย์นะนาฮู้ทู้เคียกทู้ (พระมหาวัชรจารย์ชีวินพุทธะ นอรา ริมโปเช) และด้วยวัตรปฏิบัติของท่านซึ่งเคร่งครัดในวินัยและท่านก็ได้อุปสบบทในนิกายวินัย จนได้รับสถาปนาเป็นพระปรมัตตาจารย์ประมุขนิกายวินัยองค์ที่19 ท่านได้รวบรวมแนวทางการปฏิบัติในนิกายต่างๆเข้าด้วยก้นและเป็นแนวทางแก่คณะ สงฆ์จีนได้ปฏิบัติสืบต่อมา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามหายานในประเทศไทยได้ยึดแนววิปัสสนาเซ็น นิกายวินัย และนิกาย มนตรยานเป็นหลัก
อภิปรัชญาตามทัศนะของมหายานในอินเดียในยุคแรก
นิกายศูนยวาทหรือมาธยมิก
มาธยมิก แปลว่าทางสายกลาง นิกายนี้ตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 7 ท่านคุรุนาคารชุนเป็นผู้ก่อตั้ง ได้อรรถาธิบายพุทธมติด้วยระบบวิภาษวิธี ซึ่งก่อความตื่นเต้นในวงนักปราชญ์ทางพุทธศาสนา ท่านได้กำจัดปรวาทีพ่ายแพ้ไปทุกแห่งหน พุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานจึงยกย่องท่านว่าเป็นพุทธะองค์ใหม่ ในปัจฉิมวัยท่านดับขันธ์ลง ณ มหาวิหารแห่งหนึ่งที่เมืองอมราวดีในแคว้นอันธระ ทักษิณาบถ ปัจจุบันนี้อินเดียทางใต้ยังมีโบราณสถานแห่งหนึ่ง ซึ่งมีซากพระสถูปเจดีย์ชื่อว่า "นาคารชุนโกณฑะ" งานสำคัญของคุรุนาคารชุนคือ การย่อยทรรศนะในมหาปรัชญาปารมิตาสูตร แล้วจัดระบบวิภาษวิธีเพื่อให้เข้าถึงความจริงในปรัชญานั้น คัมภีร์ที่มีชื่อเสียงของท่านคือ อรรถกถาแห่งพระสูตรดังกล่าวและคัมภีร์มาธยมิกการิกะ คัมภีร์นี้เป็นเพชรน้ำเอกในทัศนะเกี่ยวกับพุทธมติ อย่างที่โลกพุทธศาสนาไม่เคยมีมาก่อนเลย นักปราชญ์ในโลกตะวันตกยุคหลังที่ได้อ่านคัมภีร์นี้ ต่างก็ยอมรับว่า คุรุนาคารชุนเป็นนักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่ของโลก ไม่มีปรัชญ์ใดในทางนี้ของตะวันตกที่จะเทียบเคียงได้
มหาปรัชญาปารมิตาสูตร มีสาระสำคัญซึ่งเป็นบ่อเกิดของนิกายศูนยวาทนั้นสาระสำคัญเรียกว่า "ปรัชญาปารมิตาหฤทัย" ซึ่งเป็นพระสูตรสั้นๆที่แก่นแท้แห่งศูนยตาภาวะ ซึ่งชาวพุทธมหายานทั้งมวลต้องรู้ต้องสวดภาวนาเป็นประจำ
ในคัมภีร์มาธยมิกวฤติ ท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนไว้ 27 บรรพ ท่านได้เริ่มปณามคาถาในต้นปกรณ์ ว่า “ไม่มีความเกิดขึ้น ไม่มีความดับ ไม่มีความขาดสูญ ไม่มีความเที่ยงแท้ ไม่มีอรรถแต่อย่าง เดียว ไม่มีอรรถนานาประการ ไม่มีการมา ไม่มีการไป ท่านใดกล่าวไว้ เป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม ท่านผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า ข้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ดับเสียได้ซึ่ง ปปัญจธรรมเป็นเลิศยิ่งกว่าวาทะทั้งหลาย”
ใจความในปณามคาถานี้ แบ่งออกเป็น 8 คำ 4 คู่
ในทรรศนะของนิกายศูนยวาทเห็นว่า โลกนี้ที่ปรากฏแก่เรา มิได้เป็นทั้งสัต หรืออสัต เพราะฉะนั้นจึงปฏิเสธด้วยคำ 8 คำ 4 คู่ ข้างต้นโดยเฉพาะคำแรกคือคำว่า "ไม่มีความเกิดขึ้น" ท่านให้เหตุผลไว้ว่า ธรรมดาย่อมถือว่าความเกิดมาจากกรณี 4 อย่างคือ
1 เกิดขึ้นเอง
2 สิ่งอื่นทำให้เกิด
3 ทั้งเกิดขึ้นเอง ทั้งสิ่งอื่นทำให้เกิด รวมกันทำให้เกิดขึ้น
4 เกิดอย่างไร้เหตุคือเกิดลอยๆ
ท่านนาคารชุนปฏิเสธหมดทั้ง 4 ข้อ คือท่านค้านว่า หากท่านปรวาทีกล่าวว่า "โลกนี้เป็นสัตไซร้ ธรรมดาสิ่งที่มีอยู่เอง ไม่จำเป็นต้องมีการเกิดขึ้น คำว่าเกิดขึ้น ต้องใช้กับสิ่งซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ภายหลังมีขึ้นเรียกว่าเกิดขึ้น ก็เมื่อท่านปรวาทีถืออยู่แล้วว่าโลกเป็น คือมีอยู่เอง แล้วยังกล่าวว่าสิ่งที่มีอยู่เกิดขึ้น จึงเป็นการขัดต่อเหตุผล นั่นก็คือหมายความว่า สภาวะธรรมจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ตัวเองจะให้ตัวเองเกิดไม่ได้
ท่านปรวาทีแก้ตัวว่า โลกเกิดจากสิ่งอื่นทำให้เกิด ที่จริงสิ่งอื่นนั้นก็คือตัวเองนั่นเอง เพราะการเปรียบเทียบจึงมีเรากับเขาขึ้น บุรุษหนึ่ง เมื่อพบบุรุษหนึ่งอีกคน จึงเกิดคำว่าฉันและท่านขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัวเองและผู้อื่นช่วยกันทำให้เกิดขึ้น ฝ่ายศูนยวาทค้านว่า เปรียบเหมือนคนตาบอดคนเดียวมองไม่เห็น แม้จะเพิ่มคนตาบอดอีกคนมาอยู่รวมกัน ก็ไม่เกิดการเห็นใดๆขึ้น
ท่านปรวาทีกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นก็เกิดขึ้นโดยไร้เหตุผล ฝ่ายศูนยวาทท้วงว่า ไม่ได้ ไฟย่อมเกิดจากพื้น แม่น้ำย่อมเกิดแต่ฝน ทุกสิ่งย่อมมีเหตุ เมือเป็นเช่นนั้นแล้ว เราจึงยืนยันได้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มีอะไรอุบัติขี้นเลย ที่เราประสบอยู่คือโลกที่ปรากฏแก่เรา เปรียบเหมือนปีศาจเปรียบเหมือนพยับแดด เปรียบเหมือนความฝัน เปรียบเหมือนมายากล โลกจึงไม่เป็นสัต และทั้งไม่เป็นอสัตด้วย เพราะมีสัตจึงมีอสัตเป็นเครื่องเปรียบเทียบ ก็เมื่อสัตเราปฏิเสธเสียแล้วอสัตจึงพลอยถูกปฏิเสธไปด้วย เมื่อนิกายศูนยวาทถือว่า โลกไม่เป็นทั้งสัตหรืออสัตเช่นนี้ หากมีกระทู้ถามว่า ถ้าอย่างนั้นโลกเป็นอะไร ท่านคุรุนาคารชุนตอบว่า เป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม คือธรรมอันอาศัยเหตุพร้อมทั้งผลเกิดขึ้น เมื่อเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรมจึงชื่อว่าเป็น "ศูนยตา" คำว่า "ศูนยตา" ในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงความไม่มีอะไรสิ้นเชิง ผิดกับคำว่าอุจเฉทะ หรือ นัตถิกะ ซึ่งเป็นคำปฏิเสธเด็ดขาด
ศูนยตา หมายถึง ความไม่มีสวลักษณะหรือสวภาวะ เท่านั้น คือไม่มีสิ่งใดในโลก ที่เป็นอยู่ด้วยตัวมันเอง โดยไม่ความสัมพันธ์กันสิ่งอื่น ทุกสิ่งสัมพันธ์กันหมด เพราะเหตุนั้นปฏิจจสมุปบาทธรรมคืออันใด ศูนยตาก็อันนั้น ศูนยตาอันใดมัชฌิมาปฏิปทาก็อันนั้น
ท่านคุรุนาคารชุน ได้ยกพุทธภาษิตในสังยุตตนิกายมาอ้างว่า "ดูก่อนกัจจนะ เมื่อพิจารณาโลก โดยสายดับแล้วความยึดถือในอัตถิตาก็หมดไป เมื่อพิจารณาโลกในสายเกิดแล้ว ความยึดถือในนัตถิตาก็หมดไป ตถาคตก็ย่อมแสดงธรรมเป็นท่ามกลางไม่ติดในส่วนสุดทั้งสองข้างนั้น" ยากที่ปฏิเสธโลกว่า ไม่เป็นทั้งสัตและอสัตนั้น ดังตัวอย่างในความรู้สึกของสามัญชนว่า สภาวะของความยาวมีอยู่จริง สภาวะของความสั้นก็มีจริง แต่ข้อเท็จจริงคือที่รู้ว่ายาวเพราะความรู้ว่าสั้นมาเปรียบเทียบ เช่นเดียวกันที่เรารู้ว่าสั้น ก็เพราะอาศัยความยาวเป็นเครื่องเปรียบเทียบ เมื่อเป็นเช่นนี้ยาวกันสั้นมีได้ก็เพราะความสัมพันธ์กัน หากไม่มีความสัมพันธ์กัน ยาวสั้นก็หามีไม่ นั่นคือสวลักษณ์ของความยาวนั้นไม่มี ของความสั้นก็ไม่มี เมื่อสวลักษณ์ไม่มีเช่นนี้ จึงเรียกว่า"ศูนยตา"
เมื่อสรรพธรรมไม่มีสวลักษณะเช่นนี้ สรรพธรรมจึงเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรมโลกกับนิพพาน เมื่อว่าโดยปรมัตถโวหาร ก็เป็นมายาธรรม ทั้งนี้เพราะเหตุว่าเมื่อโลกไม่มีสวลักษณะ เปรียบเหมือนพยับแดด เหมือนฟองน้ำ ความดับไปแห่งโลก กล่าวคือพระนิพพานจะมีสวลักษณะอยู่ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นเมื่อโลกเป็นมายา ความดับไปแห่งความเป็นมายานั้นจึงพลอยเป็นมายาด้วย เพราะเนื้อแท้ไม่มีอะไรดับ โลกกับพระนิพพานจึงไม่ใช่หนึ่ง ไม่ใช่สอง ทั้งนี้เพราะเหตุว่า ในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง เมื่อพิจารณาโดสมุทัยวารแล้ว คืออวิชชาเกิดสังขารเกิดเป็นลำดับ สมุทัยก็เกิดขึ้นในปฏิจจสมุปบาทอันเดียวกันนั้น ครั้นพิจารณาตามนิโรธวารแล้ว กล่าวคืออวิชชาดับสังขารดับตามลำดับไซร้ โลกนิโรธกล่าวคือพระนิพพานย่อมอยู่ ณ ที่นั้นเอง ผู้ใดเห็นว่าโลกกับนิพพานเป็นหนึ่ง ผู้นั้นเป็นฝ่ายข้างสัสสตทิฎฐิ ผู้ใดเห็นว่าโลกกับนิพพานเป็นสอง ผู้นั้นเป็นฝ่ายนัตถิกทิฎฐิ โดยแท้จริงพระนิพพานนั้น ไม่เป็นทั้งภาวะและอภาวะ ผู้ใดเห็นพระนิพพานเป็นภาวะ ผู้นั้นเป็นผู้ถือเอาส่วนสุดฝ่ายอัตถิตา ผู้ใดเห็นพระนิพพานเป็นอภาวะ ผู้นั้นถือเอาส่วนสุดฝ่ายนัตถิตา โดยความจริงแล้ว นิพพานพ้นจากความมีและความไม่มี นี้เป็นวาทะของคุรุนาคารชุน
เมื่อฝ่ายศูนยวาท แสดงทัศนะมาถึงตอนนี้ ฝ่ายปรวาทีได้ตั้งข้อโต้แย้งขึ้นว่าการที่ฝ่ายศูนยวาท ปฏิเสธลักษณะในธรรมทั้งปวงนั้น ฝ่ายศูนยวาทยังจะมีหลักฐานพุทธพจน์ยืนยันหรือไม่ ท่านคุรุนาคารชุนจึงยกพุทธภาษิตในสังยุตตนิกายขึ้นอ้างว่า "รูปเปรียบเหมือนฟองน้ำ เวทนาเปรียบเสมือนต่อมน้ำ สัญญาเปรียบเสมือนพยับแดด สังขารเปรียบเสมือนต้นกล้วย วิญญาณเปรียบเสมือนนักเล่นกล อันพระผู้เผ่าพงศ์อาทิตย์แสดงแล้ว" พุทธภาษิตแสดงให้เห็นว่า เบญจขันธ์เป็นมายาธรรม เมื่อเบญจขันธ์เป็นมายาธรรมแล้วก็มีแต่มายามีทุกข์ นั่นก็คือแสดงให้เห็นว่า สรรพธรรมไม่มีสวลักษณะหรือสวภาวะไม่มีใครมีกิเลสหรือพ้นกิเลส พระนิพพานอันเป็นความดับแห่งเบญจขันธ์จักมีสวภาวะเอกเทศอยู่อย่างไร แท้จริงไม่มีอะไรเกิดหรือดับเลย ถ้าสังขตธรรม มีอยู่อสังขตธรรมจึงมีได้ เพราะความปฏิเสธสังขตคืออสังขตะก็เมื่ออสังขตะไม่เป็นของจริง.อสังขตะจะมี อยู่อย่างไร เหมือนกับพูดว่า การไปการมาการเกิดการดับย่อมต้องอาศัยคนเป็นปทัฎฐานคือ คนไป คนมา คนเกิด คนดับ ก็เมื่อตัวคนไม่มีแล้ว อาการเหล่านั้นจะอยู่ได้อย่างไร
ฝ่ายปรวาทีแย้งว่า ถ้าเช่นนั้นทิฎฐิของท่านก็เป็นอุจเฉทะ พระพุทธองค์จะสอนให้บุคคลเจริญมรรคผลไปทำไม ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างว่างเปล่าเช่นนี้ วาทะของท่านนั้นเป็นนัสติกะ ทำลายกุศลธรรมทั้งปวง
ท่านคุรุนาคารชุนโต้กลับไปว่า วาทะของเรา แบ่งเป็น 2 นัย คือโดยโลกียะนัย เรากล่าวว่า ธรรมทั้งปวงมีอยู่อย่างมายา เช่นเดียวกับความฝัน เราไม่ได้ปฏิเสธเหตุการณ์ในความว่า เป็นของไม่มีอยู่ เรากล่าวว่าความฝันมีอยู่แต่มีอย่างไม่จริง เรารับสมมติบัญญติตามโลกโวหาร ไม่ได้ปฏิเสธกรรมกิริยา เหมือนกับเราไม่ได้ปฏิเสธความฝันว่าไม่มี แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถนัย สิ่งทั้งปวงเป็นศูนยตาเหมือนเรากล่าวว่าความฝันไม่ใช่ความจริงเราจึงไม่ใช่ พวกนัสติกะ ตรงกันข้ามกับพวกท่านนั่นแหละ กลับจะเป็นฝ่านปฏิเสธบุญกรรมกิริยาเสียเอง เพราะพวกท่านยึดถือว่า สิ่งทั้งปวงมีสวลักษณะ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนทำบาปก็ต้องทำบาปวันยังค่ำไม่มีทางกลับตัวเป็นคนดีได้เพราะ คนทำบาปมี สวลักษณะ การทำก็มีสวลักษณะ บาปก็มีสวลักษณะ สิ่งใดเป็นสวลักษณะ สิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นอยู่ด้วยตัวมันเองไม่อาศัยสิ่งอื่น เพราะฉะนั้น ฝ่ายท่านจึงปฏิเสธบุญกรรมกิริยา ฝ่ายเราถือว่าสวลักษณะไม่มี เป็นศูนยตา คนชั่วจึงกลายเป็นคนดีได้ ปุถุชนจึงเป็นอรหันต์ได้ เด็กจึงเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้ ถ้าถืออย่างมติท่าน เด็กต้องเป็นเด็กตลอดไป ถ้าเด็กเปลี่ยนเป็นผู้ใหญ่ ย่อมแสดงว่าเด็กคนนั้นไม่มีสวลักษณะเป็นศูนยตา เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า เพราะมีศูนยตานี่เอง อุบัติกาลของโลกจึงได้เป็นไปตามระเบียบ
ฝ่ายมาธยมิกะ ได้เปรียบเทียบทัศนะในเรื่องความเห็นว่างเปล่า ในระหว่างตนกับพวกนัตถิกะว่า เหมือนบุคคลสองคน นาย ก. เห็นโจรคนหนึ่งประกอบโจรกรรมเฉพาะหน้า นาย ข.ไม่ได้เห็นโจรคนนั้นประกอบโจรกรรมเลย แต่พูดไปตามนาย ก.ความเข้าใจและคุณค่าในเรื่องความรู้ระหว่างนาย ก. กับนาย ข.นี้แตกต่างกันฉันใด ฝ่ายเรา คือ ท่านคุรุนาคารชุน เห็นสรรพสิ่งเป็นของสูญด้วยยถาภูตญาณทัศนะ ฝ่ายท่าน คือฝ่ายนัตถิกทิฎฐิ เห็นทุกสิ่งเป็นของไม่มี เป็นความเห็นที่เกิดจากตรรกะ มิได้เกิดจากยถาภูตญาณทัศนะมีอุปมัยดุจเดียวกับบุคคลสองคนฉะนั้น
ท่านคุรุนาคารชุนย้ำว่า บุคคลใดที่จะมีทัศนะในเรื่องศูนยตา บุคคลนั้นจะต้องมีศีล สมาธิเป็นปทัฏฐาน ถ้าปราศจากศีล และสมาธิแล้ว ทัศนะของผู้นั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ
คัมภีร์ปัญจวิงสติกล่าวไว้ถึง ลักษณะศูนยตา 18 ประเภท
ศูนยตาคือ สภาพรับรู้ ความมีก็ไม่ใช่ ความไม่มีก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความมีก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความไม่มีก็ไม่ใช่ สี่สภาวะสุดขั้วมิใช่ ศูนยตา สภาพการรับรู้ตรงกลางนั้นคือ ศูนย์ตา หรือจะกล่าวว่า ในโลกแห่งสมมุตินี้ การรับรู้สภาพที่สรรพสิ่งเป็นมายา เป็นความว่าง นี่คือ ศูนยตา ในโลกปรมัตถ์ของพุทธะ สรรพสิ่งอิงอาศัยกันมี ดังเช่น อริยะสัจจ์, ทางสายกลาง ,ปรตีตยสมุทปาท ทั้งมวลนี้คือ ศูนยตา
นิกายวิชญานวาท หรือนิกายโยคาจารย์
นิกายนี้มีแนวคิดที่ตรงกันข้าม กับฝ่ายศูนยวาท และเป็นคู่ปรับที่สำคัญ มีกำเนิดในศตวรรษที่ 8 ในสมัยราชวงศ์คุปตะ ปฐมาจารย์ของนิกายนี้ คือท่านไมตรีนาถ ตั้งสำนักอยู่ในเมืองอโยธยาในแคว้นโกศล ท่านผู้นี้ได้เขียนปกรณ์ คือ อภิสมยลังการ สานุศิษย์ของท่านชื่อ พระอสังคะและน้องชายพระวสุพันธุ ทั้งทั้งสองเดิมบวชในนิกายสรวาสติวาท ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นมหายาน และได้ช่วยท่านไม่ตรีนาถตั้งลัทธิโยคาจารย์นี้ขึ้น นิกายนี้บางครั้งก็เรียกชื่อว่า "อัสติวาทิน" บางครั้งก็เรียก"วิชญานวาท"เพราะเหตุที่เป็นนิกาย "มโนภาพนิยม"
หลักปรัชญาของนิกายนี้ ได้อาศัยพระสูตรสำคัญพระสูตรหนึ่ง คือ สนธินิรโมจนสูตร ซึ่งมีหลักถือว่า สรรพสิ่งในโลกล้วนเป็นภาพสะท้อนออกไปจากดวงใจเรียกว่า "อาลยวิญญาณ" อาลยวิญญาณเป็นธาตุรู้ มีหน้าที่สามประการ คือ
1 หน้าที่รู้เก็บ คือสามารถเก็บเอาพลังต่างๆของก รรม โดยไม่ขาดตกบกพร่อง สิ่งที่เก็บไว้ในอาลยวิญาณ เรียกว่า "พีชะ" อันประกอบด้วยกุศลพีชะ อกุศลพีชะ อัพยากตพีชะ เพราะฉะนั้น บางครั้งก็เรียกอาลยวิญญาณว่า "สรวพีชวิญญาณ" ท่านเปรียบเหมือนยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกไว้ฉะนั้น
2 หน้าที่รู้ก่อ คือก่อสร้างอารมณ์ต่างๆ ออกมา อารมณ์คือ โลภ เป็นปรากฏการณ์ของพีชะในอาลัยวิญญาณนั้น ผลิดอกออกผล รวมทั้งวัตถุด้วยเช่น ภูเขา แม่น้ำ ล้วนเป็นพีชะในอาลัยวิญญาณก่อขึ้นมา
3 หน้าที่รู้ปรุง คือปรุงแต่งอารมณ์ให้วิจิตรให้พิสดารต่างๆ เป็นไปตามคลองแห่งตัณหา ทำให้ประกอบกรรม เกิดวิบาก ส่งผลเป็นพีชะเข้าไปเก็บไว้ในอาลัยวิญญาณอีก แล้วงอกเงยเป็นอารมณ์ออกมาอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะหมดภพหมดชาติ
บรรดาพีชะในอาลยวิญญาณต่างแยกกันอยู่เป็นส่วนๆกุศลก็อยู่ฝ่ายกุศล แต่สถานที่เก็บเป็นแห่งเดียวกัน มหาภูติรูปก็มีพีชะเหมือนกัน พีชะเหล่านี้เมื่อก่อปฏิกิริยาออกมาก็คืออารมณ์ต่างๆ ทั้งฝ่ายนามธรรมและรูปธรรม
เพราะฉะนั้น นิกายนี้จึงสอนว่า โลกวัตถุเป็นเพียงมโนภาพ เพราะเป็นสิ่งปรุงออกไปจากพีชะในจิต ถ้าไม่มีอาลยวิญญาณเสียแล้ว สิ่งทั้งปวงก็ไม่มี อารมณ์กับจิตเรียกว่าทัศนภาพ ได้พฤติกรรมของอาลยวิญญาณที่ออกมาทำหน้าที่เสพอารมณ์ทางทวารทั้ง 6 กลายเป็นวิญญาณ 6 ส่วนลักษณะภาคก็คืออารมณ์ต่างๆ แปลว่า อาลยวิญญาณทำหน้าที่ 2 อย่าง คือส่งภาคออกมาเป็นอารมณ์ ในขณะเดียวก้นทำหน้าที่เสพอารมณ์นั้นด้วย
มีปัญหาตั้งขึ้นว่า "พีชะ ในอาลยวิญญาณ มีมาแต่ครั้งใด" ตอบว่า "พีชะบางเหล่าเป็นอมตัคคะธรรม พีชะบางเหล่าสะใมขึ้นในประวัติกาล" มีปัญหาว่า "ถ้าโลกวัตถุเป็นมโนภาพไซร้ ทำไมเราจึงไม่สามารถสร้างภูเขาหิมาลัยขึ้นอีกลูกหนึ่ง" ตอบว่า "สิ่งบางอย่างในโลกเกิดจากสหธรรมของมนุษย์และดิรัจฉานร่วมกัน เช่นภูเขาหิมาลัยเป็นสหกรรม จะต้องอยู่ที่อินเดียแห่งเดียว อยู่ในเมืองไทยไม่ได้ เพราะฉะนั้น แม้คนไทยทั้งประเทศจะสร้างภูเขาหิมาลัยขึ้น ก็เพียงได้นึกคิดเอา โลกนี้เป็นสหกรรม เมื่อสร้างขึ้นแล้วจากพีชะทั้งหลาย ในอาลยวิญญาณของมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งโลก ฐานที่ตั้งของภูเขาและแม่น้ำเป็นต้น ย่อมมีกำเนิดแหล่งที่ชัดเจน จะมาสับเปลี่ยนในภายหลัง ตามใจชอบของคนบางกลุ่มบางคนไม่ได้
ทัศนะเดียวกับสภาวะธรรมของนิกายนี้ ได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทเรียกว่า "ไตรสภาวะ" มีดั้งนี้คือ
1 ปริกัลปิตลักษณะ คือลักษณะไม่มีอยู่จริง แต่เข้าใจผิดว่ามี เช่นคนเดินทางในที่มืด เหยียบเชือกสำคัญว่างู ความสำคัญผิดว่างูนี้ เปรียบเหมือนความเข้าใจผิดว่า มีนามธรรม รูปธรรม ภายนอกวิสัยของอาลยวิญญาณ
2 ปรตันตรลักษณะ ได้แก่พีชะต่างๆ ในอาลยวิญญาณ จะเป็นของไม่มีอยู่จริงไม่ได้ เปรียบเหมือนเส้นเชือกถ้าไม่มีอยู่แล้ว ความเข้าใจผิดว่างู ก็ไม่เกิดขึ้น
3 ปริณิษปันนลักษณะ ได้แก่นิพพานและรรมธาตุต่างๆ ในส่วนพฤติกรรมท่านเปรียบเหมือน บุคคลที่หายเข้าใจผิด รุ้ว่าเชือกไม่ใช่งูใจไม่สะดุ้งต่อภัยอีก เช่นเดียวกับผู้ทีรุ้จริงว่า สรรพสิ่งเป็นเพียงภาพสะท้อนของจิต เมื่อจิตดับแล้วสิ่งทั้งปวงก็ดับจึงสามารถเพิกถอนอุปทานได้
เมื่อนิกายนี้ถือว่า ทุกสิ่งต้องมีพีชะเป็นบ่อเกิด เพราะฉะนั้น จึงได้เกิดกำหนดประเภทแห่งบุคคลในโลกออกเป็น 5 พวก เรียกว่า "ปัญจโคตร"คือ
1 พุทธพีชะบุคคล ผู้จะสร้างบารมีสำเร็จเป็นพุทธะได้
2 ปัจเจกโพธิพีชะบุคคล ผู้ที่มีพีชะเป็นปัจเจกพุทธเจ้าได้
3 สาวกพีชะบุคคล ผู้มีวิสัยเป็นพระอรหันต์ได้
4 อนิยตพีชะบุคคล ผู้ยังเป็นกลางๆสุดแล้วแต่การอบรม
5 อิจฉันติกพีชะบุคคล ผู้ที่โปรดไม่ได้
ทั้ง 5 พวกเป็นธรรมนิกายกำหนดตายตัว
นิกายศูนยวาท กับ นิกายวิชญานวาท เป็นคู่ปรับกันมาทุกยุคทุกสมัย ข้อขัดแย้งที่สำคัญก็คือเรื่อง "สวลักษณะ" ทั้งนี้เพราะทัศนะในเรื่องสวลักษณะสองนิกายนี้เห็นแตกต่างกัน จึงมีข้อโต้แย้งระหว่างกันดังนี้
ศูนยวาทว่า โดยสมมติสัจจ์ สิ่งทั้งปวงเป็นมายา โดยปรมัตถ์สัจจ์สิ่งทั้งปวงเป็นศูนยตา
โยคาจารว่า สมมติสัจจ์ สิ่งทั้งปวงเป็นมายาหมดไม่ได้ เพราะแม้ภาพข้างนอกจะไม่ใช่ของจริง แต่พีชะอันเป็นบ่อเกิดของภาพเหล่า นั้น มีสวลักษณะอยู่ โดยปรมัตถสัจจ์ ก็ไม่ใช่สูญไปเสียหมด ต้องมีสวลักษณะเหลืออยู่ ยกตัวอย่างเช่นมะพร้าว ถ้าไม่มีสวลักษณะในตัวมันเอง ปลูกมะพร้าวก็กลายเป้นกล้วยไปได้ การที่มะพร้าวเป็นมะพร้าวเรื่อยไป ก็เพราะเจ้าสวลักษณะเช่นนี้ หรือเหมือนกับคนและความเป็นธรรม ตัวตนอาจเปลี่ยนแปลงไปคื ทารก ก.เปลี่ยนเป็นหนุ่ม ก. และเปลี่ยนเป็นผู้เฒ่า ก. ลักษณะ 3 ระยะนี้ไม่เหนือกันเลยแม้แต่นิดเดียว แต่เราก็รู้ว่าเป็นคนๆเดียวกัน นั่นก็คือนาย ก. จะต้องมีสวลักษณะ คือลักษณะเฉพาะในตัวมันเองที่ทำให้เรากำหนดได้ว่าเป็นคนๆเดียวกัน เพราะฉะนั้นโยคาจารจึงสอนว่าสิ่งที่สูญนั้นได้แก่ สัตว์ บุคคล เรา เขา แต่สภาวะธรรมที่เป็นบัญญิติว่า เป็นสัตว์ บุคคล เรา เขา สูญไม่ได้ นั่นก็คือบรรดาพีชะจะต้องมีอยู่ในปรมัตถ์ เหมือนกับต้องมีเบญจขันธ์ เราจึงบัญญัติสัตว์บุคคลได้ เหมือนกับมีเชือก เราจึงเกิดเข้าใจผิดว่าเป็นงูได้ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งปวงบางอย่างไม่มีสวลักษณะ ได้แก่สัตว์ บุคคล เพราะเป็นธรรมที่เราเห็นไปเอง แต่บรรดาพีชะอันเป็นปทัฏฐาน จะพลอยไร้สวลักษณะนั้นมิได้ ถ้าเป็นอย่างวาทะของฝ่ายศูนยวาทแล้ว เราจะเอาอะไรมากำหนดความแตกต่างระหว่างมรรคกับกิเลสระหว่างโลกกับนิพพานเล่า
นิกายจิตอมตวาท
นิกายนี้ได้เจริญขึ้นในราชวงศ์คุปตะ ไม่พบผู้ก่อตั้งนิกาย พระสูตรที่สำคัญในนิกายเช่น ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร ศูรางคมสมาธิสูตร ตถาคตครรภสูตร สุวรรณประภาสสูตร พุทธยานสาครสมาธิสูตร อจินไตยยสูตร วิเศษจินตาพรหมปริปฤจฉาสูตร เป็นต้น
คำสอนในนิกายนี้ตรงข้ามกับศูนยวาทและโยคาจาร ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ จักรภพมีปทัฏฐานจากสมบูรณภาพ จากสิ่งนี้คือสมบูรณภาพ จึงก่อเกิดจักรภพชีวิตขึ้น ภาวะอันเป็นแก่นเดิมของโลกคือความจริงแท้ สิ่งที่เป็นมายามีรากฐานมาจากภาวะอันแท้จริงไม่แปรผัน นิกายจิตอมตวาทนี้ได้บัญญัติภาวะอันนี้ด้วยนามต่างๆเช่น พุทธะภาวะ ตถาคตครรภ ภูตตถตา อมฤตจิต นิพพาน นิกายนี้ชี้แจงว่าคำสอนที่เกี่ยวกับอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นเพียงบุรพภาค เป็นเพียงปริยายธรรม ยังมีธรรมที่สุขุมคัมภีรภาพไปกว่านั้น คือธรรมที่แสดงถึง นิจจัง สุขัง อัตตา การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอนัตตา ก็เพื่อให้เราได้เข้าถึงอัตตาที่แท้จริง กล่าวคือ สมบูรณภาพหรือพุทธภาวะ และพุทธภาวะมีในทุกๆสิ่ง แต่ถ้ามองในแง่ลักษณะภายนอก สิ่งทั้งสองก็แตกต่างกันออกไปโดยสัณฐาน โดยนิมิต และโดยพยัญชนะ
นิกายนี้ ได้ให้ข้ออุปมา เกี่ยวกับสมบูรณภาพว่า ธรรมดาภาวะของจิตหรือสมบูรณภาพนั้น เที่ยงแท้ ไม่เกิด ไม่ด้บ เบื้องต้นไม่ปรากฏเบื้องปลายไม่ปรากฏ แต่ที่เห็นเกิดดับนั้นเพียงอาการของจิต ไม่ใช่ตัวจิต เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่ใช่วิญญาณ ขันธ์" เมื่อจิตมิใช่วิญญาณขันธ์ จิตจึงเป็นผู้รู้ขันธ์ ผู้ปล่อยขันธ์ สภาพของธาตุรู้ ท่านเปรียบเหมือนธาตุทอง ที่ยังปะปนอยู่กันดินทราย หรือธาตุเพชรที่ยังอยู่ในหิน ธาตุทองและธาตุเพชรไม่ใช่ดินทราย ไม่ใช่หินฉันใด พุทธภาวะหรือจิตในสรรพสัตว์ แม้จะห่อหุ้มด้วยกิเลสตัณหา ก็ไม่ใช่กิเลสตัณหาและไม่ใช่ขันธ์ 5 ฉันนั้น อีกอุปมาหนึ่งท่านเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ ย่อมมีปรกติส่องแสงสว่าง แต่ในบางคราวเกิดมืดมัว ก็มิได้หมายความว่า ดวงอาทิตย์นั้นอัปแสงไปหากเนื่องมาจากเมฆหมอกมาปกคลุม เปรียบดังกิเลสตัณหามาบังพุทธภาวะในปุถุชนเหมือนทองที่ยังไม่ได้ร่อนไม่ได้ หุง เหมือนเพชรที่ยังไม่ได้เจียรนัย เหมือนดวงอาทิตย์ที่ถูกเมฆคลุม แต่พุทธภาวะในพระอริยะเจ้า เปรียบเหมือนทองที่เป็นรูปพรรณเหมือนเพชรที่เจียรนัย เหมือนตะวันที่พ้นเมฆหมอกแล้ว ปุถุชนจึงเป็นพุทธะในส่วนเหตุ พระอริยบุคคลเป็นพุทธะในส่วนผล
นิกายนี้เชื่อมั่นว่า สัตว์ทั้งปวงในวันหนึ่งข้างหน้านี้ จักต้องตรัสรู้เหมือนกัน ต้องเป็นพุทธะหมด เพราะทุกคนมีทุนเดิมอยู่ในจิตด้วยกันทุกคน
อีกอุปมาหนึ่ง ท่านเปรียบประดุจท้องมหาสมุทรในยามปรกติย่อมราบเรียบ แต่ที่ยังเกิดเป็นคลื่นก็เพราะลมมหาสมุทร คือพุทธภาวะหรือจิตแท้ลมที่พัดมาคืออวิชชาตัณหาอุปทาน ลูกคลื่นที่เกิดขึ้น แต่ละลูก เปรียบเหมือนสัตว์ต่างๆเกิดแล้วดับไปในมหาสมุทรนั่นเอง มีปัญหาถามว่าอวิชชามีก่อนหรือ พุทธภาวะมีก่อน ถ้าอวิชชามีก่อน ก็มิใช่พุทธะภาวะแท้ เพราะไม่รู้มีก่อนรู้ รู้นั้นก็ไม่ใช่รู้จริง ใช้ไม่ได้ ถ้าว่าพุทธะภาวะมีก่อน พระอริยะก็จะกลับเป็นปุถุชนได้ นิกายจิตอมตวาทตอบว่า พุทธภาวะกับอวิชชาไม่ก่อนไม่หลังกัน มีมาด้วยกันนับแต่ภาวะเริ่มต้นไม่ปรากฏ เหมือนกับธาตุทองกับดินทราย จะว่าใครเกิดก่อนเกิดหลังไม่ได้
No comments:
Post a Comment